ความตระหนักถึงความเสี่ยง ความตระหนักถึงสัญญาณเตือน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชาชนในประเทศไทย: สำรวจโดยแบบสอบถามออนไลน์

Main Article Content

เสาวนีย์ ทานตะวิรยะ
พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร โก
พิศิฐ อิสรชีววัฒน์
ชื่นฤทัย ยี่เขียน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิงในประเทศไทย การตรวจคัดกรองสามารถพบมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะแรก และลดอัตราการเสียชีวิตได้ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับความตระหนักถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง


วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความตระหนักถึงความเสี่ยง ความตระหนักถึงสัญญาณเตือน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โดยการใช้แบบสอบถามประเมินความตระหนักเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
ลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ฉบับภาษาไทย ในรูปแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้า มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน ทั้งหมด 461 คน และนำมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างไม่มีความตระหนักถึงความเสี่ยงและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ร้อยละ 99 และ 86 ตามลำดับ สถานภาพคู่มีโอกาสได้คะแนนความตระหนักถึงสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้น้อยกว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 82.5 (สถานภาพคู่: Adjusted OR (aOR)=0.175; 95%CI:-0.17 ถึง 0.52); p<0.001) การมีบุคคลใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้มีโอกาสได้คะแนนความตระหนักถึงสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้น้อยกว่าการไม่มีบุคคลใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 91.5 (การมีบุคคลใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้: aOR=0.085; 95%CI:-0.50 ถึง 0.33; p<0.001) ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 61 ตอบว่าไม่ค่อยมั่นใจในการสังเกตอาการโรคมะเร็งลำไส้ของตัวเอง ร้อยละ 68 คิดว่าหากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ทันที และร้อยละ 84 คิดว่ารัฐไม่มีนโยบายใน
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง


 


สรุป: กลุ่มตัวอย่างส่วนมากไม่มีความตระหนักถึงความเสี่ยงและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ดังนั้นควรมี
การส่งเสริมการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมากขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของความเสี่ยงและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ ตลอดจนควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงระบบคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และ
ไส้ตรง

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: Globocan estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA: A Cancer Journal for Clinicians. 2018;68(6):394–424.

The Global Cancer Observatory. (2020). Colorectal Cancer. [online] Available at: https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/cancers/10_8_9-Colorectum-fact-sheet.pdf

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563: พิมพ์ครั้งที่ 1. ประเทศไทย: กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์; 2564. หน้า 44-8.

American Cancer Society. (2020). Colorectal Cancer Early Detection, Diagnosis, and Staging. [online] Available at: https://www.cancer.org/content/dam/CRC/PDF/Public/8606.00.pdf

Lohsiriwat V, Chaisomboon N, Pattana-Arun J. Current colorectal cancer in Thailand. Annals of Coloproctology. 2020;36(2):78–82.

Algamdi M, Gonzales A, Farah E. Awareness of common cancer risk factors and symptoms in Saudi Arabia: A community-based study. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 2021;22(6):1813–9.

Sahu DP, Subba SH, Giri PP. Cancer awareness and attitude towards cancer screening in India: A narrative review. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2020;9(5):2214.

Ball HL. Conducting online surveys. Journal of Human Lactation. 2019;35(3):413–7.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607–10.

Power E, Simon A, Juszczyk D, Hiom S, Wardle J. Assessing awareness of colorectal cancer symptoms: Measure development and results from a population survey in the UK. BMC Cancer. 2011;11(1).

Connor K, Hudson B, Power E. Awareness of the signs, symptoms, and risk factors of cancer and the barriers to seeking help in the UK: Comparison of survey data collected online and face-to-face. JMIR Cancer. 2020;6(1).

Charoenchit S. Health Care Awareness and Colorectal Cancer Screening Result, Ampher Koh Samui, Suratthani Province. Journal of Prachomklao College of Nursing. 2020;3(1):47-61.

Su TT, Azzani M, Donnelly M, Majid HA. Seeking medical help for cancer among urban dwellers in Malaysia-emotional barriers and awareness of cancer symptoms. European Journal of Cancer Care. 2020;29(4).

Tfaily MA, Naamani D, Kassir A, Sleiman S, Ouattara M, Moacdieh MP, et al. Awareness of colorectal cancer and attitudes towards its screening guidelines in Lebanon. Annals of Global Health. 2019;85(1):75.

Al-Dahshan A, Chehab M, Bala M, Omer M, AlMohamed O, Al-Kubaisi N, et al. Colorectal cancer awareness and its predictors among adults aged 50–74 years attending primary healthcare in the state of Qatar: A cross-sectional study. BMJ Open. 2020;10(7).

Buja A, Lago L, Lago S, Vinelli A, Zanardo C, Baldo V. Marital status and stage of cancer at diagnosis: A systematic review. European Journal of Cancer Care. 2017;27(1).

Alyabsi M, Ramadan M, Algarni M, Alshammari K, Jazieh AR. The effect of marital status on stage at diagnosis and survival in Saudis diagnosed with colorectal cancer: Cancer registry analysis. Scientific Reports. 2021;11(1).

Chaiarch K, Jirapornkul C, Maneenin N. Knowledge of Colorectal Cancer of risk population at Namphong District, KhonKaen Province. KKU Journal for Public Health Research, KhonKaen Province. 2019;11(3):37-44.