ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของข้าราชการตำรวจ เกษียณที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ณ คลินิกตรวจโรคเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลตำรวจ

Main Article Content

สุพรรษา อุ่นสอาด

บทคัดย่อ

ที่มา: โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาหลักที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ความร่วมมือในการใช้ยาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญที่สามารถช่วยควบคุมความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการตำรวจเกษียณซึ่งถือว่าอยู่ในวัยสูงอายุที่ควรได้รับการดูแล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือในการใช้ยา ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของข้าราชกรตำรวจเกษียณที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
วัสดุและวิธีการ: ศึกษาแบบภาคตัดขวางในข้าราชการตำรวจเกษียณ รับบริการ ณ คลินิกตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานประชากร แบบสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพและการใช้ยา แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบสอบถามความสม่ำเสมอในการกินยา เพื่อประเมินความร่วมมือในการใช้ยา โดยสถิติการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุโลจิสติก
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 264 คน ค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 68.60±6.67 ปี ความร่วมมือสม่ำเสมอคิดเป็นร้อยละ 68.18 ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพที่ดีคิดเป็นร้อยละ 26.14ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาได้แก่ รายได้ (AOR = 6.32, 95%CI:1.511-26.458) โรคความดันโลหิตสูง (AOR =5.31, 95%CI: 2.593-10.905) อธิบายการใช้ยาจากบุคลากรทางการแพทย์ (AOR =5.388, 95%CI: 2.747-10.568) ความรอบรู้ทางสุขภาพ (AOR =6.94, 95%CI: 2.616-18.410)
สรุป: การเพิ่มความร่วมมือการใช้ยาในกลุ่มข้าราชการตำรวจเกษียณ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเน้นย้ำและพัฒนาปัจจัยเรื่องการอธิบายการใช้ยาจากบุคลากรทางการแพทย์ และสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อช่วยเพิ่มระดับความรอบรู้ทางสุขภาพ

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่่ 12 สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสุขภาพ 2559.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานกาณ์ผู้สูงอายุไทย พศ2562. สถานการณ์สูงวัยของประชากรไทย 2562.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรคNCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

แดน สุวรรณะรุจิ. ปัจจัยกำหนดภาวะ metabolic syndrome ของตำรวจไทย. วารสารประชากรศาสตร์. 2561; 34:72-91.

จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อปี 2559-2561. [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2562. เข้าถึงจาก:

http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020&fbclid=IwAR0eL9bN0FS-3grROpwArTbq_Bsk- KaqwxaBQMJ2j0Cm2xZaSiTkxsuH7eHE.

กนกเลขา สุวรรณพงษ์, สุภาณี คลังฤทธิ์. การส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. วารสารแพทย์นาวี. 2562;46:717-31.

กนกพร ภิญโญพรพาณิชย์. การจัดการปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา. เวชปฏิบัติครอบครัว 3. เชียงใหม่: Box Of-fice Graphic Design; 2562. หน้า. 193-214.

Kivimaki M, Batty D, Hamer M, Nabi H, Korhonen M, Huupponen R, et al. Influence of retirement on nonadherence to medication for hypertension and diabetes. Canadian Medical Association Journal. 2013;185:784-90.

Ueno H, Ishikawa H, Kato M, Okuhara T, Okada H, Kiuchi T. Factors related to self-care drug treat- ment and medication adherence of elderly people in Japan. Public Health Res Pract. 2021;2:1-5.

Ahlawat R, Tiwari P, Cruz SD. Prevalence and Pre- dictors of Medication Non-Adherence in Patients of Chronic Kidney Disease. J. pharm. care health syst. 2016;3:1-6.

Hsu HF, Chen K, Belcastro F, Chen YF. Polypharma- cy and pattern of medication use in communitydwelling older adults. J Clin Nurs. 2021;30:918-28

กมลรัตน์ บัญญัตินพรัตน์, ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลดงหลวง. วารสารอายุรศาสต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562;5:40-9.

ปิติพร สิริทิพากร, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. ความแตกฉานด้านสุขภาพกับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37: 186-95.

Nonogaki A, Heang H, Yi S, Pelt M, Yamashina H, Taniguchi C, et al. Factors associated with medi- cation adherence among people with diabetes mellitus in poor urban areas of Cambodia. PLoS One. 2019;14(11):e0225000. doi: 10.1371/journal.pone.0225000.

Lauffenburger JC, Landon JE, Fischer MA. Fischer. Effect of combination therapy on adherence among us patients initiating therapy for hyperten- sion. J Gen Intern Med. 2017;32:619-25.

สมลักษณ์ เทพสิริยานนท์, วีณา จีระเเพทย์, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ, รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนของแผนกำหนดการใช้ยาและพฤติกรรมความ สม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้สูงอายุไทยโรคความดันโลหิตสูง. Chulalongkorn Medical Journal. 2554; 55:457-72.

Edward A, Campbell B, Manase F, Appel LJ. Patient and healthcare provider perspectives on adherence with antihypertensive medications. BMC Health Services Research. 2021;21(834):1-12.

Saqlain M, Riaz A, Malik MN, Khan S, Ahmed A, Kamran S, et al. Medication adherence and its as- sociation with health literacy and performance in activites of daily livings among elderly hypertensive patients in Islamabad, Pakistan. Medicina (Kaunas). 2019 18;55(5):163. doi: 10.3390/medicina55050163.

Lor M, Koleck TA, Bakken S, Yoon S, Navarra AM. As- sociation between health literacy and medication adherence among hispanics with hypertension. J Racial Ethn Health Disparities. 2019;6:517-24