การเปรียบเทียบความสอดคล้องกันของการประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (PHQ-2) และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (PHQ-9) ระหว่างการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองกับการตอบแบบสอบถามโดยผู้ดูแลหลัก ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ภายใต้การดูแลสุขภาพที่บ้าน ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Main Article Content

ญาณิศา สมบูรณ์เทอดธนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 โรคซึมเศร้า เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งพบโรคซึมเศร้าได้บ่อย การวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของการคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (PHQ-2) และ 9 คำถาม (PHQ-9) ระหว่างการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองกับผู้ดูแลหลัก ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ภายใต้การดูแลสุขภาพที่บ้าน  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 


การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคมและเมษายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่ใช้วัดความสอดคล้องของข้อมูล


กลุ่มตัวอย่างตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแลหลัก 71 คู่ ค่าเฉลี่ย PHQ-2 และ PHQ-9 โดยตัวผู้ป่วยเองมีค่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P 0.07 และ P < 0.001) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่า PHQ-2 มีความสอดคล้องดีมาก (ร้อยละ 98.59, Kappa and Weighted kappa 0.843) ส่วน PHQ-9  มีความสอดคล้องพอใช้ (ร้อยละ 66.20, Kappa and Weighted kappa 0.335)


ดังนั้น การประเมินภาวะซึมเศร้าด้วย PHQ-2  โดยผู้ดูแลหลัก อาจจะเป็นอีกทางเลือกในการคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เนื่องจากมีความสอดคล้องกันกับการประเมินโดยตัวผู้ป่วยเอง


คำสำคัญ: การคัดกรอง, โรคซึมเศร้า, โรคเรื้อรัง, การดูแลสุขภาพที่บ้าน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

WHO. Mortality and global health estimates [Internet]. 1990 [cited 10 Sep 2020]. Available from: http://www.who.int/gho/mortality_burden_disease/en/index.html.

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต. รายงานประจำปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://mhtech.dmh.moph.go.th/fileupload/20200206284763086.pdf.

Beck AT, Ward CH, Mendelson M, Mock JE, Erbaugh JK. An inventory for measuring depression. Arch Gen Psychiatry 1961;4(6):561-571.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทรือง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(4):321-334.

สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง. การพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยรูปภาพอย่างง่าย. วารสารสวนปรุง 2557;30(3):1-14.

Toukhsati SR, Yau L, Yates R, Catrice I, Wasser C, Young L, et al. Depression assessment: Spouses are poor proxies for Cardiovascular disease patients. Heart and Mind 2018;1(3):102-106.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidepression.com/www/58/guidebookdepress.pdf.

Flack VF, Afifi AA, Lachenbruch PA, Schouten HJ. Sample Size Determinations for the Two Rater Kappa Statistic. Psychometrika 1988;53(3):321-325.

Tatha O, Laorujisawat P, Greenglass ER. The Validity and Reliability of the Proactive Coping Inventory (PCI). Chula Med J 2013;57:765-778.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. อุบลราชธานี: หจก.ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2553.

สฤษดิ์พงศ์ แซ่หลี, ปิยะภัทร เดชพระธรรม. การศึกษาความตรงเชิงเกณฑ์ของแบบสอบถาม PHQ-9 และ PHQ-2 ฉบับภาษาไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2560;27(1):30-37.

Ferrini RL, Gibson RL, Klein JD. Evaluating depression in those who cannot speak for themselves. 2014 [cited 10 Sep 2020]. Available from:

https://www.caltcm.org/assets/ferrinicaltcmposterphq9.pdf.

Skolarus LE, Sanchez BN, Morgenstern LB, Garcia NM, Smith MA, Brown DL, et al. Validity of Proxies and correction for Proxy use when evaluating social determinants of health in stroke patients. Stroke 2010;41(3):510-515.

Lapin BR, Thompson NR, Schuster A, Katzan IL. Magnitude and Variability of stroke patient-proxy disagreement across multiple health domains. Archives of Physical medicine and rehabilitation 2020;102(3):440-447.

Rooney AG, MCNamara S, Mackinnon M, Fraser M, Rampling R, Carson A, et al. Screening for major depressive disorder in adults with Glioma using the PHQ-9. J Neurooncol 2013;113(1):49-55.

Wongpakaran N, Wongpakaran T, Wannarit K, Saisavoey N, Pinyopornpanish M, Lueboonthavatchai P, et al. Level of agreement between self-rated and clinician-rated instruments when measuring major depressive disorder in the Thai elderly. Clin Interv Aging 2014;9:377-382.

Williams LS, Bakas T, Brizendine E, Plue L, Tu W, Hendrie H, Kroenke K. How valid are family proxy assessments of stroke patients' Health-related Quality of life. Stroke 2006;37(8):2081-2085.

Wongpakaran N, Wongpakaran T, Wedding D, Gwet KL. A comparison of Cohen’s Kappa and Gwet’s AC1 when calculating inter-rater reliability coefficients: a study conducted with personality disorder samples. BMC Medical Research Methodology 2013;13(61).

Wajnberg A, Ornstein K, Zhang M, Smith KL, Soriano T. Symptom burden in chronically ill homebound individuals. J Am Geriatr Soc 2013;61(1):126-131.

Rush AJ, Carmody TJ, Ibrahim HM, Trivedi MH, Biggs MM, Shores-Wilson K, et al. IDS Comparison of Self-Report and Clinician Ratings on Two Inventories of Depressive Symptomatology. Psychiar Serv 2006;57(6):829-837.