ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กไทยอายุ 9 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลตำรวจ

Main Article Content

มนัสวี ภู่พงศ์เพ็ชร

บทคัดย่อ

ที่มา: ภาวะโลหิตจางในเด็กไทยอายุ 9 เดือน เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก จะส่งผลต่อความบกพร่องด้านสติปัญญาการเรียนรู้ พัฒนาการ และการประสานการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายอย่างถาวร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กไทยอายุ 9เดือนที่มารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลตำรวจ
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินค่าความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กไทยอายุ 9 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลตำรวจ ประชากรเป้าหมายคือ เด็กไทยอายุ 9 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลตำรวจ ที่ได้รับการตรวจเลือดหาภาวะโลหิตจางครั้งแรก ตั้งแต่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 355 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน แบบบันทึกของเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกและสัมภาษณ์ผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาประมาณค่าความชุก และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีถดถอยพหุลอจิสติก รายงานค่าความเสี่ยงด้วย adjusted odds ratio (aOR) และ 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 18.03 โดยใช้ค่า hema-tocrit น้อยกว่า ร้อยละ 33 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 31.02 สัดส่วนของเด็ก 9 เดือนที่มีภาวะโลหิตจางเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ร้อยละ 71.88 และ 28.13 ตามลำดับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชาย(aOR=2.36; 95%CI: 1.28-4.33) เป็นบุตรคนแรก (aOR=6.65; 95%CI: 2.76-16.02) และเด็กที่ไม่ได้รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กที่อายุ 6 เดือน (aOR=1.89; 95%CI: 0.40-8.99)
สรุป: ดังนั้นจึงควรเพิ่มความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในด้านการเลี้ยงดู โดยเฉพาะด้านอาหารโภชนาการและการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กที่อายุ6 เดือน เพื่อให้เด็กมีโภชนาการสมวัย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางในเด็กได้

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทาง การเสริมธาตุเหล็กสำหรับประชาชนไทย. นนทบุรี: กระทรวง สาธารณสุข. 2557.

บุญชู พงศ์ธนากุล.ความรู้สู่ประชาชนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก[อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: www.tsh.or.th/knowledge/details/65.

ภัทรบุตร มาศรัตน. Iron Homeostasis: Balancing the Acts. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล; 2560. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/department/Biochemistry/home/articles/iron_homeostasis.htm.

กิติมา ยุทธวงศ์. โลหิตจางเพราะขาดธาตุเหล็ก ส่งผลไอคิวในวัยเรียนต่ำลง 5-10 จุด. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม สุขภาพจิต. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29701.

Kliegman RM, Stanton BF, St.Geme JW, Schor NF, Behrman RE, editors. Iron Deficiency Anemia. Nel- son Textbook of pediatrics. 20th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders, 2016. p. 2323-26.

Tantrachewathorn S, Lohajaroensub S. Incidence and risk factor of iron deficiency anemia in term infants. J Med Assoc Thai. 2005;88:44-51.

United Nations Administrative Committee on Coor- dination, SubCommittee on Nutrition. 4th. Report on The World Nutrition Situation. Nutrition through- out the Life Cycle. Geneva, 2000.

World Health Organization. The World Health Re- port 2002: Reducing risks, promoting healthy life. Geneva: World Health Organization; 2002.

Lilleyman J, Hann I, Blanchette, editors. Iron defi- ciency. Pediatric Hematology. 2nd ed. London: Churchill Livingstone, 1999. p. 127-44.

Sungthong R, Mo-Suwan L, Chongsuvivatwong V. Effect of haemoglobin and serum ferritin on cogni- tive function in school children. Asia Pac J Clin Nutr. 2002;11:117-22.

Kazal LA, Jr. Prevention of iron deficiency in infants and toddlers. Am Fam Physician. 2002;66:1217-24.

กิตติ ต่อจรัส. การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางรวมทั้งการให้ธาตุเหล็กเสริมอาหารในเด็กไทย. เวชศาสตร์แพทย์ทหารบก. 2552;62:155-9.

Kleinman R, ed. Committee on Nutrition. Iron defi- ciency. Pediatric nutrition handbook. 5th ed. Wash- ington, DC: American Academy of Pediatrics, 2004. p. 299-312

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. กำหนดการดูแลสุขภาพเด็กไทย โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, 2557.

วันชัย วนะชิวนาวิน. บทบรรณาธิการ: ค้นหาปัจจัยเสี่ยงเพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2559;26:7-8.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. รายงานผลการทบทวนนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ในประเทศไทย. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, 2555.

สิรารัตน์ เกตุสมบูรณ์. ศึกษาความชุกของภาวะขาดธาตุเหล็กและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทารกอายุ 9-12 เดือน ในคลินิกเด็กดีของโรงพยาบาลรามาธิบดีและวิทยาลัยแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล. 2552.

Benoist Bd, McLean E, Egli l, Cogswell M. World- wide prevalence of anemia 1993-2005: WHO global database on anemia. Geneva: World Health Organization; 2008.

นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6-12 เดือน โรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารอุบลเวชสาร. 2561;1:10-20.

เสาวรส พงษ์พิพัฒน์. การศึกษาผลการติดตามภาวะโลหิตจางในเด็กไทยอายุ 6-12 เดือนที่ได้รับการตรวจคัดกรองในปี พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงจาก:http://library.childrenhos- pital.go.th/elib/multim/km/1075.pdf.

บุษบา อรรถาวีร์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. การศึกษาเรื่องการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6-12 เดือน. [อินเทอร์เน็ต]. ราชบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงจาก: https://apps.hpc.go.th/dmkm/web/uploads/2020/034052-20200302205435/fe9e- 66c29a0e446e66b673849747dcdb.pdf.

สุจิตรา บางสมบุญและคณะ. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ 6 เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. 2561;1:40-8.

วีณา มงคลพร. สถานการณ์และผลการรักษาภาวะโลหิตจาง

ในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์

อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. 2556; 6: 8. เข้าถึงเมือ [1 มิถุนายน 2563] เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.139/group_sr/all- file/1432796515.

จตุพร ดวงเพชรแสง. ภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลแก้งคร้อ. ชัยภูมิเวชสาร. 2560; 2:30-39

สมยศ รักษาศีล. ความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทารกอายุ 9-12 เดือน ในคลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพานทอง. วารสารกุมารเวชศาสตร์ ตุลาคม-ธันวาคม. 2560;4:319-327.

ยอดขวัญ อภิกุลชาติกิจ. ความชุกของภาวะโลหิตจางและประสิทธิผลของการป้องกันโลหิตจางในทารกอายุ 9-12 เดือน ที่มารับบริการในคลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลตeรวจ. วารสารพยาบาลตeรวจ. 2563;1:161-70

ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี, ภัทรพร แจ้งหมื่นไวย. การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 9 เดือน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Journal of the Medical Association of Thailand. 2563;103:891-96.

วศินี ติตะปัญ. ความชุกของภาวะโลหิตจางและผลการรักษาด้วยการให้ธาตุเหล็กทดแทนในเด็กอายุ 9-12 เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2564;2:103-22.

วารสินทร์ จันทร์ประกายสี. การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน โรงพยาบาลปากช่องนานา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. 2562;41:29-36.

Sidrak S, Yoong T, Woolfenden S. Iron deficiency in children with global development delay and au- tism spectrum disorder. J Paediatric Child Health. 2014;50:356-61.

Elalfy MS, Hamdy AM, Maksoud SS, Megeed RI. Pat- tern of milk feeding and family size as risk factors for iron deficiency anemia among poor Egyptian infants 6 to 24 months old. Nutr Res. 2012;32:93-9