ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี

Main Article Content

ชนากานต์ สโมสร

บทคัดย่อ

ที่มา: อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกยุคปัจจุบันและมีแนวโน้มว่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้นการมีความรู้และทักษะในการใช้สารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการปัญหาสุขภาพได้อย่างเหมาะสม


วัตถุประสงค์: ศึกษาระดับความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยนอก 


วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง(Cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาถึงระดับความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 450 คน ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล ดัดแปลงมาจาก Health Information National Trends Survey Cycle 3 เป็นการวัดผลเชิงคุณภาพ แบบประเมินความรอบรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพอ้างอิงมาจากกรมอนามัย ซึ่งแปลมาจาก e-health literacy scale ของ CD Norman, HA Skinner Cronbach’s alpha coefficient = 0.9 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสถิติด้วยสมการถดถอยแบบพหุ (multiple regression analysis)  ที่ระดับนัยสำคัญสถิติที่ 0.05


ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 61.1 ได้คะแนนความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในระดับสูง ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ได้แก่ อายุ (p < 0.05), ระดับการศึกษาที่เรียน (p < 0.01), อาชีพ (p < 0.01), จำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มี (p < 0.01)


สรุป: ความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพมีปัจจัยทำนายหลายประการ การทราบว่าปัจจัยใดมีผลในการทำนายจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเพื่อส่งเสริมความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในอนาคต เช่น การสร้างสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพในแต่ละกลุ่มบุคคลให้เหมาะกับระดับความรอบรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ณรงค์ยศ มหิตติวานิชย์. สถิติและพฤติกรรมผู้ใช้งาน internet Q1 ปี 2563 ทั่วโลกรวมประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.twfdigital.com/blog/2020/02/global-digital-usage-stat-q1-2020/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.nso.go.th/sites/2014/ DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-CompleteReport-Q1.pdf

พนิตนาฏ ชำนาญเสือ, จันทิมา เขียวแก้ว, พรเลิศ ชุมชัย, ธัญญารัศม์ ดวงคำ, ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, กฤษณา หงส์ทอง และคณะ. การรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ การรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ และสภาวะสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสังกัดพระบรมราชชนก ในกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง 2และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุด .2559; 9 : 93-117.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, จันทิมา แก้วเขียว, พนิตนาฎ ชำนาญเสือ, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรเลิศ ชุมชัย และคณะ. ปัจจัยทำนายการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดพระบรมราชชนก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.2560; 11:235-248.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา.2558; 7:169-185.

Tanvir AM. The Use of Technology to Access Healthcare: An Exploration of eHealth Literacy and Related Disparity in Bangladesh [PhD]. Brighton: University of Sussex; 2019.

Bethany T, Michael S, Virginia D, Beth C, Don C, Samantha P, et al. eHealth Literacy and Web 2.0 Health Information Seeking Behaviors Among Baby Boomer and Older Adults. J Med Internet Res 2015;17;1-16

ภานุพงศ์ พรหมมาลี. การวิเคราะห์การรู้ดิจิทัลของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาโดยใช้แผนภูมิต้นไม้การจำแนกและการถดถอย [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร ; 2562

Diane LZ, Isabella B. Media Health Literacy, eHealth Literacy, and the Role of the Social Environment in Context. Int. J. Environ. Res. Public Health 2018, 15, 1-13

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดาทองโคตร, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane [อินเทอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/

Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

Rockville. Health information National Trends Survey cycle 3. [Internet].2020 [cites 2021 Feb 1].

Available form: https://hints.cancer.gov/docs/Instruments/HINTS5C3_Annotated_Instrument_English.pdf

สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0. Health Literacy and Health Literate Organization [อินเทอร์เน็ต]. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2019/02-5044-20190218125342/36c4407dadeb64d841a1c0dfa3997179.pdf

Richtering SS, Hyun K, Neubeck L, Coorey G, Chalmers J, Usherwood T, et al. Predictors in a Population with Moderate-to-High Cardiovascular Risk. JMIR Hum Factors 2017 [cite 2022 Feb 8];4(1):e4. doi:10.2196/humanfactors.6217.

Shiferaw KB, Mehari EA. Internet use and eHealth literacy among health-care professionals in a resource limited setting: a cross-sectional survey. Adv Med Educ Pract.2019;10:563-570.

Norman CD, Skinner HA. eHealth Literacy: Essential Skills for Consumer Health in a Networked World. J Med Internet Res 2006;8(2):e9.

ธนิตา วงษ์จินดา. ผลการพัฒนาระบบสนับสนุนบนฐานเว็บเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพทหารโดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วม กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. 2559.

ปรียาภรณ์ บูรณากาญจน์, ศศิธร ยุวโกศล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาตั้งครรภ์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2563; 8(2): 136-149.

Shiferaw KB, Tilahun BC, Endehabtu BF, Gullslett MK,Mengiste SA. E-health literacy and associated factors among chronic patients in a low-income country: a cross-sectional survey. BMC Med Inform Decis Mak 2020;20(1):181.

Centers for disease control and prevention. e-Health Literacy. [Internet].2021 [cites 2021 March 30]. Available form: https://www.cdc.gov/healthliteracy/researchevaluate/eHealth.html

เนติยา แจ่มพิม, สินีพร ยืนยง. การใช้สื่อออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ของผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(2);168-180.

พรพรรณ ประจักษ์เนตร. ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ การค้นหาข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและการจัดการตนเองเพื่อรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางหายใจส่วนบนของประชากรไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562;13(3);243-260.

Xesfingi S, Vozikis A. eHealth Literacy: In the Quest of the Contributing Factors. Interact J Med Res 2016;5(2):e16.

Sisook Kim RN, Jaehee Jeon RN. Factors influencing eHealth literacy among Korean nursing students: A cross-sectional study. Nursing and Health Science 2020;22(3):667-674.

Zhou J, Fan T. Understanding the Factors Influencing Patient E-Health Literacy in Online Health Communities (OHCs): A Social Cognitive Theory Perspective. Int. J. Environ. Res. Public Health 2019;16(14),2455.

Zrubka Z, Brito Fernandes Ó, Baji P, Hajdu O, Kovacs L, Kringos D, et all. Exploring e-Health Literacy and Patient-Reported Experiences With Outpatient Care in the Hungarian General Adult Population: Cross-Sectional Study. J Med Internet Res 2020;22(8):e19013