ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธนากร แก้วสุทธิ
เรืองนิพนธ์ พ่อเรือน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ


วิธีวิจัย : ศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 200 คน และได้รับยาอย่างน้อย 1 ชนิด ที่ทำการตรวจรักษาในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและแผนกผู้ป่วยนอกอายุกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562 ทบทวนเวชระเบียนและข้อมูลการสั่งจ่ายยาที่ไม่เหมาะสม ตามเกณฑ์ของเบียร์ปี ค.ศ.2019 รวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อศึกษาหาความความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมใน


ผลศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน พบความชุกของการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 24.5 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การใช้จำนวนยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไป (adjusted OR 4, 95%CI 1.74-9.21, P 0.001) กลุ่มยาที่ไม่เหมาะสมพบมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกลุ่มยาแก้ปวดแก้อักเสบ


สรุปผลและข้อเสนอแนะ : ความชุกของการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุที่รับการตรวจในแผนกผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เท่ากับร้อยละ 24.5 โดยผู้ป่วยที่ได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไปมีโอกาสได้รับการสั่งจ่ายยาที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามควรมีการทบทวนความรู้ด้านยาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุให้แก่แพทย์

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

(1) The United Nations Department of Economic and Social Affairs. World population aging 2019. New York: United Nations; 2020:14-21.
(2) รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: สำนักพิมพ์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
(3) Budnitz DS, Lovegrove MC, Shehab N, Richards CL. Emergency hospitalizations for adverse drug events in older Americans. NEJM 2011;365(21):2002-12.
(4) American Geriatrics Society 2019 Beers Criteria Update Expert Panel. AGS updated Beers Criteria for potentially inappropriate medication use in older adults. JAGS 2019;67(4):674-94.
(5) วรัญญา บัวขวัญ, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์. รายการยาที่ไม่เหมาะสมที่ผู้สูงอายุใช้ในบ้านพักคนชรา. วารสารเภสัชกรรมไทยคณะเภสัชศาสตร์ 2558;1:3-14.
(6) Baldoni AO, Ayres LR, Martinez EZ, Dewulf NL, Santos VD, Pereira RL. Factors associated with potentially inappropriate medications use by the elderly according to Beers criteria 2003 and 2012. IJCP 2014;36:316-24.
(7) Juan AL, Eloísa RB, Mercedes AP, Fernando LV, Victoria PS, Francisca LF, et la. (2020). Potentially inappropriate prescriptions according to explicit and implicit criteria in patients with multimorbidity and polypharmacy. PLOS ONE. 15(8). doi: 10.1371/journal.pone.0237186.
(8) Alhawassi TM, Alatawi WA, Alwhaibi M. Prevalence of potentially inappropriate medications use among older adults and risk factors using the 2015 American Geriatrics Society Beers criteria. BMC Geriatr 2019;19:154.
(9) Zeenny R, Wakim S, Kuyumjian Y. Potentially inappropriate medications use in community-based aged patients: a cross-sectional study using 2012 Beers criteria. Dove Press journal 2017;12:65-73.
(10) สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.
(11) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลัชชิ่ง; 2562.
(12) Viktil KK, Blix HS, Moger TA, Reikvam A. Polypharmacy as commonly defined is an indicator of limited value in the assessment of drug-related problems. BJCP 2007;63(2):187-95.
(13) Shah BM, Hajjar ER. Polypharmacy, adverse drug reactions, and geriatric syndromes. Clin Geriatr Med 2012;28(2):173-86.
(14) Awad A, Hanna O, Dijk LV. (2019). Potentially inappropriate medication use among geriatric patients in primary care setting. PLOS ONE. 14(6). doi: 10.1371/journal.pone.0218174.