ปัจจัยทำนายการมารักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน

Main Article Content

พัชราภรณ์ ปินตา

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: การรักษาที่รวดเร็วในระยะแรกมีความสำคัญและมีประโยชน์มากในโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (thrombolytic therapy) จะมีประสิทธิภาพที่ดีนั้นยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการหาปัจจัยทำนายการมารักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน  
ระเบียบวิธีวิจัย:
การศึกษาย้อนหลัง (Case-control study) เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่มารักษาโรงพยาบาลท่าปลา จำนวน 224 คน ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2558  ถึง กันยายน พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มศึกษาคือผู้ป่วยที่มารักษาทันในเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 112 คน กับ กลุ่มควบคุมคือ ผู้ป่วยที่มารักษาไม่ทันเกินเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 112 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสถิติการถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary logistic regression)
ผลการศึกษา:
การวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร (Multivariate analysis) พบว่า อาการหน้าเบี้ยว (adj .OR= 2.00, 95%CI : 1.12-3.58)  อาการชัก (adj .OR= 9.20, 95%CI : 1.98-42.66) การมีระดับคะแนนกลาสโกว์โคมาสเกลน้อย (adj. OR= 3.89, 95%  CI : 1.00 -15.11)  การเกิดอาการขณะอยู่ที่อื่นที่ไม่ใช่บ้าน (adj. OR= 3.05, 95%CI : 1.19-7.83) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายการมารักษาทันเวลาภายใน 3 ชั่งโมงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
สรุป:
  ปัจจัยทำนายการมารักษาทันเวลาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันคือ อาการหน้าเบี้ยว  อาการชัก อาการโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรง และการเกิดอาการขณะอยู่ที่อื่นที่ไม่บ้าน ดังนั้นควรมีการให้ความรู้กับชุมชนเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับอาการหรืออาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน และความสำคัญในการรักษาในระยะแรกของโรคหลอดเลือดสมอง

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ