การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ

Main Article Content

พรรษ โนนจุ้ย

บทคัดย่อ

         การทำจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) เป็นจิตบำบัดที่มีประสิทธิภาพในโรคจิตเวชหลายโรคและสามารถนำมาใช้ปรับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ จิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมมีจุดเด่น คือ มีโครงสร้างชัดเจน ระยะเวลาสั้นและมีประสิทธิภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพจิต ดังนั้นทีมสหวิชาชีพสามารถประยุกต์การทำจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อใช้ดูแลผู้ป่วยในหน่วยบริการปฐมภูมิได้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปเนื้อหาในการทำจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรม เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อทีมสหวิชาชีพในการนำไปประยุกต์ใช้กับเวชปฏิบัติในชุมชนต่อไป


         จิตบำบัดความคิดและพฤติกรรม กล่าวถึงการที่มนุษย์เผชิญกับเหตุการณ์ในชีวิตจะเกิดความคิดอัตโนมัติ เกิดอารมณ์ พฤติกรรม และอาการทางร่างกายตามมา ขั้นตอนเริ่มต้นจากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ตั้งเป้าหมายในการรักษา ค้นหาความคิดอัตโนมัติด้านลบ ทำให้ผู้ป่วยเห็นถึงด้านบวก ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมระหว่างการทำจิตบำบัดและการให้การบ้าน สิ่งสำคัญในการบำบัดทุกครั้งคือช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีประโยชน์ โดยใช้เทคนิคความคิดและเทคนิคพฤติกรรม ถ้าผู้ป่วยสามารถสังเกตความคิดอัตโนมัติด้านลบที่เกิดขึ้น จะสามารถประเมินความเที่ยงตรงของความคิดได้ และเมื่อสิ้นสุดการรักษาเป้าหมายคือให้ผู้ป่วยเป็นผู้บำบัดของตนเองได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความพิเศษ

References

1. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, et al. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556 [Internet]. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2559 [cited 2021 Mar 5]. Available from: https://www.dmh.go.th/ebook/files/prevalence_of_M_disorder_MH_problems_TNMHS2013.pdf
2. Serrano-Blanco A, Palao DJ, Luciano JV, Pinto-Meza A, Luján L, Fernández A, et al. Prevalence of mental disorders in primary care: results from the diagnosis and treatment of mental disorders in primary care study (DASMAP). Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol. 2010;45(2):201–10.
3. Sukhato K. The Treatment Options for Minor Depression In Primary Care: Systematic Review. Ramathibodi Med J. 2010 Sep 24;33(3):160–6.
4. Zhang A, Borhneimer LA, Weaver A, Franklin C, Hai AH, Guz S, et al. Cognitive behavioral therapy for primary care depression and anxiety: a secondary meta-analytic review using robust variance estimation in meta-regression. J Behav Med. 2019 Dec 1;42(6):1117–41.
5. Beck JS, Beck AT. Cognitive behavior therapy : basics and beyond. New York, NY: The Guilford Press; 2011.
6. Hofmann SG, Asnaani A, Vonk IJJ, Sawyer AT, Fang A. The Efficacy of Cognitive Behavioral Therapy: A Review of Meta-analyses. Cogn Ther Res. 2012 Oct 1;36(5):427–40.
7. ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร. การบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยเทคนิคการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) [Internet]. [cited 2021 Mar 5]. Available from: https://www.thaidepression.com/www/56/CBTdepression.pdf
8. Kennerley H, Kirk J, Westbrook D, Oxford Cognitive Therapy Centre. An introduction to cognitive behaviour therapy : skills & applications. 2017.
9. Stein MB, Sareen J. CLINICAL PRACTICE. Generalized Anxiety Disorder. N Engl J Med. 2015 Nov 19;373(21):2059–68.
10. Otte C, Gold SM, Penninx BW, Pariante CM, Etkin A, Fava M, et al. Major depressive disorder. Nat Rev Dis Primer. 2016 Sep 15;2(1):1–20.
11. Weisberg RB, Magidson JF. Integrating Cognitive Behavioral Therapy Into Primary Care Settings. Cogn Behav Pract. 2014 Aug 1;21(3):247–51.
12. Bond FW, Dryden W. Handbook of brief cognitive behaviour therapy. Chichester, West Sussex; Hoboken, NJ: Wiley; 2004.
13. Jeffrey A. Cully, Andra L. Teten. A Therapist’s Guide to Brief Cognitive Behavioral Therapy [Internet]. Houston: Department of Veterans Affairs, South Central Mental Illness Research, Education, and Clinical Center (MIRECC); 2008 [cited 2021 Mar 11]. Available from: https://www.mirecc.va.gov/visn16/docs/therapists_guide_to_brief_cbtmanual.pdf