ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้กัญชาของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญ: ปัจจุบันมีการใช้กัญชาในทางการแพทย์มากขึ้นและเป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการรบกวนต่างๆของโรคมะเร็ง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้กัญชาของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก
ระเบียบการวิจัย: การวิจัยเชิงสังเกตแบบมีกลุ่มควบคุม (Case Control study) ในผู้ป่วยมะเร็งที่มารักษาในโรงพยาบาลจังหวัดพัทลุง โดยสุ่มผู้ป่วยที่ใช้กัญชาและไม่ใช้กัญชาในการรักษาโรคมะเร็งกลุ่มละ 188 คน รวม 376 คน
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะเวลา 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก เลือกตัวแปร
ด้วยวิธีลดตัวแปร (Backward stepwise logistic regression analysis)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งมีอายุเฉลี่ย 58.1 ปี (SD 11.7) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.05) กว่าครึ่งเป็นมะเร็งอวัยวะที่ไม่มีโพรง(ร้อยละ 59.04) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้กัญชาได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับกัญชา (p-value 0.021)
ระดับความรุนแรงของมะเร็ง (p-value 0.012) การมีผู้แนะนำให้ใช้กัญชา (p-value <0.001) ผู้ตัดสินใจหลักในการรักษา
(p-value <0.001) ชนิดของโรคมะเร็ง (p-value 0.002) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน(p-value 0.002) ระดับการศึกษา (p-value 0.001) และผู้ดูแลหลัก (p-value <0.001)
สรุปผลการวิจัย: งานวิจัยนี้พบว่าการใช้กัญชาของผู้ป่วยมะเร็งขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคล เช่นการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับกัญชา รายได้ ชนิดและความรุนแรงของโรคมะเร็ง ปัจจัยด้านผู้ตัดสินใจรักษา ผู้ดูแลหลัก รวมถึงการได้รับคำแนะนำในการใช้จากผู้อื่น ดังนั้นการวางแผนเชิงนโยบายเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ในอนาคตจึงควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
1. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณะสุข ปี พ.ศ. 2562 Public Health Statistics A.D. 2019 [อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564].เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf
2. Pál Pacher, Sándor Bátkai and George Kunos .The Endocannabinoid System as an Emerging Target of Pharmacotherapy. Pharmacological Review. 2006 Sep; 58(3): 389–462.PMID:16968947
3. พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. (2562 , 18 กุมภาพันธ์ ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 19 หน้า 1-15 [อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2562].เข้าถึงได้จาก: https://www.police9.go.th/attachments/article/844/18%20%E0%B8%81.%E0%B8%9E.62%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E0%B8%9A.%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%207%20%20%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2.pdf
4. Steven A. Pergam, MD, Maresa C. Woodfield, Christine M. Lee, Guang-Shing Cheng, MD Cannabis use among patients at a comprehensive cancer center in a state with legalized medicinal and recreational use. Cancer. 2017 Nov 15;123(22):4488-4497. PMID: 28944449
5. Barliz Waissengrin , Damien Urban , Yasmin Leshem , Meital Garty , Ido Wolf . Patterns of Use of Medical Cannabis Among Israeli Cancer Patients: A Single Institution Experience. Journal of Pain and Symptom Manage. 2015 Feb;49(2):223-30. PMID: 24937161