ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้อาการเตือน กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Main Article Content

ณัชชา เจริญสรรพกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้อาการเตือน กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์แบบแผนความเชื่อสุขภาพ การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Thai CV risk score)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman's correlation coefficient)


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 345 คน มีการรับรู้แบบแผนความเชื่อสุขภาพที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.343, p-value = 0.000) ด้านการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


(r = 0.358, p-value = 0.000)


สรุป: แบบแผนความเชื่อสุขภาพ และการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน [อินเตอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://administer.pi.ac.th/uploads/1452169447704294006278.pdf
2.พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง, สุมาลี เอี่ยมสมัย. การจัดการความทุกข์ทรมานจากความพิการในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562]; 9:170-177. เข้าถึงได้จาก: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/5062/4821
3.สำนักโรคไม่ติดต่อ. ชุดรูปแบบบริการในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/documentdetection_and_preventeion_control_Package.pdf
4.World Health Organization. Death from stroke [Internet]. WHO; 2002 [cites 2019 Oct 30]. Available from: https://www.who.int/cardiovascular_diseases/en/cvd_atlas_16_death_from_stroke.pdf?ua=1
5.สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://bodthai.net/download
6.ศุภวรรณ มโนสุนทร. รายงานการพยากรณ์โรคหลอดเลือดสมอง [อินเตอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2014/.pdf
7.คณะการพัฒนาระบบบริการสาขาหลอดเลือดสมอง. แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด พ.ศ.2561 [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://bie.moph.go.th/e-insreport/file_report/2018-06-29-03-48-54-11.doc
8.พิชามญชุ์ ค้าแพรดี, อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]; 16:66-78. เข้าถึงได้จาก: http://medtu.tv/tmj/ธรรมศาสตร์เวชสารปีที่-16/
9.กมลชนก เทพสิทธา. โรคความดันโลหิตสูง [อินเตอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558 /hypertension.pdf
10.นิวัฒน์ วงษ์หลี. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]; 2:88-100. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53911
11.กานต์ธิชา กำแพงแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562]; 3:40-56. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39498/32656
12.ประไพ กิตติบุญถวัลย์. การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]; 23:132-41. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/tnap
13.Arthur M. Pancioli, Joseph Broderick, Rashmi Kothari, et al. Public Perception of Stroke Warning Signs and Knowledge of Potential risk factors. Arch Intern Med [Internet]. 1998 [cites 2019 Dec 9]; 16:1288-1292 Available from: https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle
14.Amelia K. Boehme, Charles Esenwa, Mitchell S. V. Elkind. Stroke Risk Factors, Genetics, and Prevention. Circ Res 2017;3:472–495. doi: 10.1161/CIRCRESAHA.116.308398. PubMed PMID: 28154098
15.เฟื่องฟ้า สีสวย. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550
16.กษมา เชียงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้อาการเตือน และพฤติกรรมการจัดการโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
17.กัญจน์ณิชา เยียดไธสง. ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากเกิดอาการในระยะเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562]; 1:148-156. Available from: 181920-Article Text-522595-1-10-20190403.pdf
18.สุพร หุตากร. พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ต้องขังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.
19.วาสนา เหมือนมี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]; 2:156-165. เข้าถึงได้จาก:http://www.nurse.nu.ac.th/Journal/data/Vol.9%20No.2/014.pdf
20.สายฝน เติบสูงเนิน, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิต. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562]; 32:482-490. เข้าถึงได้จาก: http://www.smj.ejnal.com/ejournal/showdetail/?show_detail=T&art_id=2203
21.พัชรินทร์ ท้วมผิวทอง. พฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2559.