ประสิทธิผลของหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ : จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อการรับบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะความกังวลต่อการมารับบริการในสถานพยาบาล คลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เตรียมการรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวโดยจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่ ออกให้บริการผู้ป่วยใกล้บ้านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการรักษาโรคเบาหวาน โดยทั้งนี้ยังไม่พบหลักฐานการศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการให้บริการในสถานบริการแบบเดิมและการให้บริการโดยหน่วยบริการสุขภาพโรคติดต่อไม่เรื้อรังแบบเคลื่อนที่ในช่วงเวลาการเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาก่อน
วิธีดำเนินการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research design) โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในขอบเขตการดูแลของคลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 105 คน แบ่งเป็นที่รับบริการสุขภาพที่คลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน จำนวน 69 คน และรับบริการที่หน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่ จำนวน 36 คน เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดและความพึงพอใจในการรับบริการทางสุขภาพ วิเคราะห์ด้วยสถิติ paired และ unpaired t-test
ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่มารับบริการสุขภาพที่หน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่ กับคลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน ในช่วงสถานการณ์การระบาดโรคฯ ไม่มีความแตกต่างกัน (p-value=0.197) ความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มารับบริการสุขภาพที่คลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน กับหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่ ไม่มีความแตกต่างกัน (p-value=0.098)
สรุปผลการศึกษา : ในสถานการณ์การระบาดของโรคฯ ไม่ว่าผู้ป่วยจะรับบริการจากหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบเคลื่อนที่หรือรับบริการที่คลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน ประสิทธิผลในการดูแลรักษาโรคไม่แตกต่างกันทั้งในเชิงระดับน้ำตาลและความพึงพอใจ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคม บทความสำหรับคุณแม่คุณพ่อ โดยศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [Internet]. [cited 2020 Sep 15]. Available from: http://www.craniofacial.or.th/social-care-covid-19.php
3. COVID-19 กับผลกระทบ โอกาสในวิกฤต และ โลกหลังโควิด – สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน [Internet]. [cited 2020 Sep 15].
4. “4 wave” ระบบสาธารณสุขไทย กับผลกระทบระยะยาวจาก “โควิด-19” [Internet]. Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. [cited 2020 Sep 15]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19160
5. ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล.คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐจังหวัดปทุมธานี.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.2554
6. Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
7. ธานินทร์ ศิลป์จารุ.การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.2553
8. Gao J, Zheng P, Jia Y, Chen H, Mao Y, Chen S, et al. Mental Health Problems and Social Media Exposure During COVID-19 Outbreak [Internet]. Rochester, NY: Social Science Research Network; 2020 Feb [cited 2020 Sep 16]. Report No.: ID 3541120. Available from: https://papers.ssrn.com/abstract=3541120
9. สำรวจโควิด19 ทำคนไทยกินอาหารปรุงเองมากขึ้นกว่า 57.48% ซื้อปรุงสำเร็จน้อยลง [Internet]. Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. [cited 2020 Sep 16]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/06/19588
10. สปสช.เผยโครงการรับยาใกล้บ้านทะลุเป้า ลดความแออัดใน รพ. 10-20% [Internet]. gnews. [cited 2020 Sep 16]. Available from: https://gnews.apps.go.th/news?news=67601
11. รพ.ขยายกลุ่มโรคเรื้อรัง “รับยาใกล้บ้าน” เพิ่ม ลดความเสี่ยงผู้ป่วยจากวิกฤติ “โควิด-19” [Internet]. gnews. [cited 2020 Sep 16]. Available from: https://gnews.apps.go.th/news?news=58713
12. โสรยา พูลเกษ.ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร และนโยบายสวัสดิการสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2552.