ผลของโปรแกรมการควบคุมอาหารชะลอไตเสื่อมในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ธัญญพัทธ์​ สุนทรานุรักษ์
นวลอนงค์ หุ่นบัวทอง
อัชพร แสงอุทัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการกรองของไต (eGFR) ของผู้ป่วยภาวะไตเสื่อม  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีก่อนและหลังการเข้าโครงการชะลอไตเสื่อม และเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่อการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการกรองของไตลดลง กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเสื่อมระยะ 3 และ 4 ที่รับการรักษาที่คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่จำนวน 48 คนในช่วง สิงหาคม 2561 ถึง มกราคม 2563 จำนวน 48 คน โดยบันทึกข้อมูลพื้นฐานทางการแพทย์ ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ และแบบบันทึกเยี่ยมบ้าน สถิติที่ใช้เป็นค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่  ร้อยละ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบ paired  t-test  และ chi-square test ที่ความเชื่อมั่น 95% confidence interval


ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยไตเสื่อมเป็นเพศหญิงร้อยละ 58.30 อายุเฉลี่ย 72 ปี  มีสถานภาพการสมรสพบว่าสมรส 31 คน (ร้อยละ64.58)  หม้าย 16 คน (ร้อยละ 33.33) เป็นโสด 1 คน(ร้อยละ 2.08) สิทธิการรักษาส่วนใหญ่เป็นสิทธิ์ผู้สูงอายุ 43 คน (ร้อยละ 89.58) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีผู้ดูแลจำนวน 46 คน(ร้อยละ 95.83) ผู้ป่วยไม่มีผู้ดูแลจำนวน 2 คน (ร้อยละ 4.17) แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคไตระยะ 3a จำนวน 32 คน (ร้อยละ 66.67) ระยะ 3b จำนวน 13 คน (ร้อยละ 27.08) ระยะ 4 จำนวน 3 คน (ร้อยละ 6.25) มีผู้ดูแลจำนวน 46 คน (ร้อยละ 95.83) ไม่มีผู้ดูแล 2 คน (ร้อยละ 4.17) ผู้ป่วยไตเสื่อมก่อนเข้าโครงการมีอัตราการกรองของไตเฉลี่ย 48.72 มล./นาที/1.73 ตร.ม. เมื่อเข้าโครงการชะลอไตเสื่อมแล้วมีอัตราการกรองของไตเฉลี่ย 53.19 มล./นาที/1.73 ตร.ม. เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยไตเสื่อมที่เข้าโครงการชะลอไตเสื่อมมีค่าการกรองของไตมากขึ้นกว่าก่อนเข้าคลินิกชะลอไตเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 (95% CI 1.86-7.09)  เมื่อได้เข้าโครงการชะลอไตเสื่อมพบว่าความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิต (143.46/73.70, 122.49/68.34 มิลลิเมตรปรอท) P<0.001 (95% CI 14.54-26.79)   ในส่วนของการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความดันโลหิตที่ควบคุมได้(systolic blood pressure < 130 มิลลิเมตรปรอท)กับที่มาของอาหารที่นำมาบริโภคพบว่าผู้ป่วยที่ประกอบอาหารกินเองสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามมาตรฐานมากกว่าผู้ป่วยที่ซื้ออาหารกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) อย่างไรก็ตามค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ค่า HbA1C พบว่าก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K; the Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25: 1567-75.

2.สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร.2552.

3.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพหมานคร : สำนักนโยบายและแผน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.2562.
4.กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง.กรุงเทพมหานคร: องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

5.Rumeyza Kazancioglu. Risk factors for chronic kidney disease: an update. International Society of Nephrology 2013 ; 3 : 368-71.

6.ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558 ; 5-18.

7.รัตตินันท์ สิงห์ประเสริฐ, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูงต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561; 5(1): 57-74.

8.Wei Zheng, Geng Qian, Wenjun Hao, Xiaodong Geng, Quan Hong, Guangyan Cai, et al. Cardiovascular metabolic risk factors and glomerular filtration rate: a rural Chinese population study. Lipids in Health and Disease 2016; 15(180) : 2-5.

9.Rotsukon Varitsakul. Dietary management for slow progression in patients with diabetic kidney disease. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014; 15(1): 22-8.

10.Rational drug use subcommittee. Rational drug use hospital manual. Nonthaburi: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2015.

11.สิริมา วรนาวิน,สกลวรรณ ประพฤติบัติ. การประเมินการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เชิงปริมาณในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12(1) : 11-23.

12.ธีรพล เมืองไพศาล, สรวีย์ เตชะเทียมจันทร์, วงศ์ทิพารัตน์ มัณยานนท์. ผลประเมินการทำางานของไต ที่ 1 ปีหลังหยุดยา Non-steroidal anti-inflammatory drug ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2 ถึง 5 ที่ใช้ยา Non-steroidalanti-inflammatory drug อย่างต่อเนื่อง เทียบกับกลุ่มควบคุมโรคไตเรื้อรังในระยะเดียวกันที่ไม่มีประวัติใช้ยา. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42(3) : 52-62.

13.ไพศาล ไตรสิริโชค, หลั่งพร อุตรศาสตร์, วราทิพย์ แก่นการ. ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(6) : 552-8.

14.สมคิด สุภาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(5) : 857-66.

15.Sakkarin Suwanwaha, Tipaporn Wonghongkul, Sirirat Panuthai, Jindarat Chaiard. Effectiveness of Self-Management Enhancement Program for Thais with CKD at Pre-dialysis Stages: A Randomized Controlled Trial. Pacific Rim Int J Nurs Res 2016; 20(4) : 320-36.