ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 3 อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

นลัท พรชัยวรรณาชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมแบบไม่จับคู่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 3 จำนวน 498 คน ดำเนินการวันที่ 1 มกราคม 2562 –31 ธันวาคม 2562 โดย แบ่งเป็น กลุ่มศึกษาได้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มควบคุมได้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มละ 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS version 22  โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์     


          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีโรคร่วมความดันโลหิตสูง (OR adj = 4.15 , 95% CI = 1.53 – 11.25) ,ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานระดับปานกลาง (OR adj = 0.33 , 95% CI = 0.15 – 0.75) ,พฤติกรรมการออกกำลังกายไม่ดี (OR adj = 4.74 , 95% CI = 1.63 – 13.79)  และพฤติกรรมการออกกำลังกายปานกลาง (OR adj = 2.95, 95% CI = 1.44 -6.03) ดังนั้นจึงควรมีคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และควรมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฎิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี;2560 [เข้าถึง เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงจาก: https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating %20shared%20value/PDF/Thailand% 20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557, สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข (สวรส.), 2559.
3. สมใจ จางวาง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2559.
4. อรุณี สมพันธ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน. มหาวิทยาลัยมหิดล,2558.
5. Guido Lastra. Type 2 diabetes mellitus and hypertension. Department of Internal Medicine University of Missouri Columbia School of Medicine, Missouri, USA, 2015.
6. Ifechukwude Obiamaka Okwechime. Prevalence and Predictors of Pre-Diabetes and Diabetes among Adults 18 Years or Older in Florida. Department of Biomedical and Diagnostic Sciences, College of Veterinary Medicine, University of Tennessee, 2015.
7. International Diabetes Federation Website. Available online: https://diabetesatlas.org/resources/2017-atlas.html (accessed on 9 Feb 2019)
8. Ming Zhao. Prevalence of Pre-Diabetes and Its Associated Risk Factors in Rural Areas of Ningbo, China. Runliang Diabetes Laboratory, Diabetes Research Center, Ningbo University, 2016.
9. Zhao Hu. A Case-Control Study on Risk Factors and Their Interactions with Prediabetes among the Elderly in Rural Communities of Yiyang City, Hunan Province. Department of Social Medicine and Health Management, Xiangya School of Public Health, Central South University, Changsha, China, 2019.