ความสัมพันธ์ของความฉลาดทางสุขภาพกับน้ำหนักตัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความฉลาดทางสุขภาพของเด็กวัยเรียนในระดับที่ไม่เหมาะสมสามารถส่งผลต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอ้วนได้ ในพื้นที่ ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีโรงเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดห้วยนาง โรงเรียนบ้านวังหลาม และโรงเรียนบ้านหนองราโพ ซึ่งพบว่าหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ปัญหาเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับน้ำหนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ที่ศึกษาในพื้นที่ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 202 คน
เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดความฉลาดทางสุขภาพซึ่งพัฒนาโดย ดร.จีรนันท์ แก้วมา ซึ่งมีจำนวน 50 ข้อย่อย โดยให้นักเรียนตอบแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพภายในเวลา 50 นาที จากนั้นข้อมูลมาวิเคราะห์หาระดับความฉลาดทางสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความฉลาดทางสุขภาพกับน้ำหนักตัวของเด็กนักเรียน หรือปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ
ผลการศึกษาพบว่า จำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเท่ากับ 202 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 52 อายุของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามอยู่ในช่วง 9-13 ปี นักเรียนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามมีอายุ 11 ปี จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 39.1 ระดับการศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดคือ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.1 นักเรียนมีคะแนนความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับค่อนข้างสูงมากที่สุด จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 24.3 คะแนนความฉลาดทางสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของนักเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนเท่ากับ -0.059 (P = 0.401) อย่างไรก็ตามพบว่าคะแนนความฉลาดทางสุขภาพมีความสัมพันธ์กับเพศ โรงเรียน และระดับชั้นที่นักเรียนกำลังศึกษาอยู่ของนักเรียนโดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.377 (P = 0.000), 0.367 (P = 0.000) และ 0.239 (P = 0.001) ตามลำดับ
สรุปได้ว่า ความฉลาดทางสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของนักเรียน
คำสำคัญ: ความฉลาดทางสุขภาพ, น้ำหนักตัว, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. Burns, C. E., Dunn, A.et al . Pediatric primary care (5th Ed.). Philadelphia: Elsevier Saunders; 2013
3. World Health Organization. Health Promotion. WHO Publications;2013
4. Manganello, J. A.Health literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Educ Res; 2008, 23(5), 840-847
5. กองสุขศึกษา.ความฉลาดทางสุขภาพ. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์; 2554
6. DeWalt, D. A., Berkman, N. D., Sheridan, S., et al. Literacy and health outcomes: a systematic review of the literature. J Gen Intern Med; 2004; 19: p 1228-1239.
7. ศิริลักษณ์ เชี่ยวชาญ.รายงานผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 12 รอบที่ 2 ไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2561 ในแผนการตรวจราชการกระทรวงสมธารณสุข; 2561
8. Shu-Fang Shih, 1 , Chieh-Hsing Liu, et al. Health literacy and the determinants of obesity: a population-based survey of sixth grade school children in Taiwan. BMC public health.Internet.cited February 13, 2019 Available from: https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/s12889-016-2879-2
9. Lawrence T Lam and Li Yang. Is low health literacy associated with overweight and obesity in adolescents: an epidemiology study in a 12–16 years old population, Nanning, China, 2012 Internet.cited February 13, 2019 Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3994214/pdf/2049-3258-72-11.pdf
10. Krushnapriya Sahoo, Bishnupriya Sahoo, et al. Childhood obesity: causes and consequences. J Family Med Prim Care. 2015 Apr-Jun; 4(2): 187–192. Internet.cited February 13, 2019 Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4408699/?report=classic