ผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่มีต่อการเรียนของแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ซึ่งระบาดไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบการติดเชื้อในบุคลกรทางการแพทย์ร้อยละ 3.7 ซึ่งส่วนใหญ่ติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งทำให้โรงพยาบาลรามาธิบดีต้องปรับการเรียนการสอนและการบริการ ทำให้แพทย์ประจำบ้านภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้รับผลกระทบ หลายภาควิชางดรับแพทย์ประจำบ้านไปเรียน หลายสถาบันงดรับแพทย์ประจำบ้านไปฝึกทำให้เสียโอกาสในการเรียนการสอน ขณะเดียวกันก็มีการเรียนการสอนรูปแบบอื่นมาทดแทน เช่น การเรียน online นอกจากนั้นแพทย์ประจำบ้านยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขณะเกิดโรคอุบัติใหม่ซึ่งระบาดไปทั่วโลกจากการเผชิญเหตุการจริง แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มีผลกระทบต่อจิตใจของแพทย์ประจำบ้านอีกด้วย เมื่อทบทวนการระบาดใหญ่ของโรค Severe Acute Respiratory Distress Syndrome ในอดีตก็พบปัญหาคล้าย ๆ กัน การเรียนบางอย่างก็สามารถทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยี แต่บางอย่างเทคโนโลยีก็อาจทดแทนไม่ได้ แม้ดูเหมือนจะเกิดผลเสียต่อการเรียนของแพทย์ประจำบ้านหลายประการแต่ก็ถือเป็นโอกาสที่ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ และยังเป็นโอกาสในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ครอบครัวอีกด้วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. Xu J, Zhao S, Teng T, Abdalla AE, Zhu W, Xie L, et al. Systematic Comparison of Two Animal-to-Human Transmitted Human Coronaviruses: SARS-CoV-2 and SARS-CoV. Viruses. 2020;12(2).
3. กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
4. Singhal T. A Review of Coronavirus Disease-2019 (COVID-19). Indian J Pediatr. 2020;87(4):281-6.
5. EOC-DDC Thailand. COVID-19: Department of Disease Control, Minister of Public Health, Thailand; 2020 [cited 2020 April,17]. Available from: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65.
6. กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์ โควิด-19: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.ddc.moph.go.th/.
7. สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ของบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย: สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19036.
8. แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา; 2563.
9. รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ. แนวคิดของการสอนทางคลินิก. ใน: เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์, สุพจน์ พงศ์ประสบชัย, รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ, บรรณาธิการ. เคล็ดลับครูแพทย์คลินิก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2556.
10. Conceptual Framework for Clinical Teaching. In: Amin Z, Eng KH, editors. Basics in Medical Education. Toh Tuck Link, Singapore: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.; 2003. p. 163-70.
11. Aspegren K. BEME Guide No. 2: Teaching and learning communication skills in medicine-a review with quality grading of articles. Medical Teacher. 1999;21(6):563-70.
12. Hudson J, Ratnapalan S. Teaching clinical skills with patient resources. Can Fam Physician. 2014;60(7):674-7, e372-5.
13. Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors Associated With Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Netw Open. 2020;3(3):e203976.
14. Wong T-w, Lee C-k, Tam W. Cluster of SARS among Medical Students Exposed to Single Patient, Hong Kong. Emerging Infectious Diseases. 2004.
15. Lim E, Oh V, Koh D-R, Seet R. The Challenges of "Continuing Medical Education" in a Pandemic Era. Annals of the Academy of Medicine, Singapore. 2009;38:724-6.