คุณภาพชีวิตของประชากรในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

อังคณา วังทอง
อนุชิต วังทอง
อาแว ลือโมะ
มัณฑนี แสงพุ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง วิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามกลยุทธ์ 3B4ตะกร้า ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,801 คน จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 71.8  มีอายุระหว่าง 41-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.2 (Min=20, Max=60, =40.42, S.D.=9.41) ส่วนระดับคุณภาพชีวิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมระดับที่ดี (=3.50, S.D.=0.78) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (=3.69, S.D.=0.85) รองลงมาคือด้านร่างกาย (=3.51, S.D.=0.79) ด้านสิ่งแวดล้อม (=3.39, S.D.=0.78) และด้านสัมพันธภาพทางสังคม (=2.32, S.D.=0.83) ซึ่งมีคุณภาพชีวิตระดับกลางๆและมีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุด


ผลการศึกษามีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนในชุมชนหลายๆ ด้าน ตามกลยุทธ์ 3B4ตะกร้า ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เกิดระบบและเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ครอบคลุมทุกมิติ แบบทีมสหวิชาชีพและสาขาอาชีพ


 


คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต, กลยุทธ์ 3B4ตะกร้า, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)


 

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ