การศึกษาความเป็นไปได้ของความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว

Main Article Content

พัชรีภรณ์ สงเคราะห์พานิช
เอื้ออัมพร ทิพยฑิฆัมพร
ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน การพัฒนาคุณภาพพนักงานให้บริการ กลยุทธ์การตลาด  และการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการชาวต่างชาติและชาวไทย จำนวน 50 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบสะดวก โดยพนักงานให้บริการนำแบบสำรวจทำการสอบถามตรงต่อผู้รับบริการชาวต่างชาติและชาวไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบปลายปิด สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่อทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว ผลการศึกษา พบว่า 1) ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 18.1 ต่อความภักดีของผู้รับบริการ 2) การพัฒนาคุณภาพพนักงานให้บริการ มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 45.9 ต่อความภักดีของผู้รับบริการ 3) กลยุทธ์การตลาด มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 34.1 ต่อความภักดีของผู้รับบริการและ 4) การพัฒนาที่ยั่งยืน มีอิทธิพลโดยรวมร้อยละ 33.6 ต่อความภักดีของผู้รับบริการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และในส่วนความได้เปรียบทางการแข่งขัน (ภูมิทัศน์การบริการ) กับการพัฒนาคุณภาพพนักงานให้บริการ (ภาวะผู้นำ) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.382 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

How to Cite
สงเคราะห์พานิช พ. ., ทิพยฑิฆัมพร เ. ., & โสตถิวรรณ์ ธ. . (2024). การศึกษาความเป็นไปได้ของความภักดีของผู้รับบริการรีสอร์ตระดับห้าดาว. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(2), 16–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/277274
บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร จวงตระกูล. (2563) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2565) การจัดการการบริการของธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐชานันท์ นุ่นมีสี และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2565) แนวทางการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อตอบสนองต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของ นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีน ในเขตเมืองพัทยา วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 47-62.

นนิตา สมบุตร, นริศรา สัจจพงษ์ และ อารีรัตน์ ปานศุภวัชร. (2565) ผลกระทบของประสบการณ์ลูกค้าที่มีต่อความจงรักภักดี ของธุรกิจโรงแรม ระดับ 4-5 ดาว ในประเทศไทย. คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(1), 73-87.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559) จากการตลาดสร้างแบรนด์ 3.0 สู่การตลาดสร้างแบรนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วิเชียร เจนตระกูลโรจน์. (2560) แนวทางการออกแบบรีสอร์ตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา Dhamajati Resort เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชระ ขาวสังข์. (2561) นวัตกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ ธุรกิจโรงแรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 181-199.

วิษณุ มั่นคง และ นพดล พันธุ์พานิช (2566) แนวทางการบริหารจัดการโรงแรมสีเขียวสู่ความสำเร็จเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดภูเก็ตประเทศไทย วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(3), 38-55.

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562) กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรมระดับ 3 ดาว เมืองพัทยา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Aaker & D. A. (1991). Managing brand equity: capitalizing on the value of a brand name. New York (NY): The Free Press.

Ahmad NF, Hemdi MA & Othman DN. (2017). Boutique hotel attributes and guest behavioral intentions. Journal of Tourism Hospitality & Culinary Arts, 9(2), 257-266.

Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing an Introduction. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Béal, M., Sabadie, W. & Grégoire, Y. The impact of customer inclusion in firm governance on customers' commitment and voice behaviors. Journal of

Business Research, 92(2018), 1-8.

Belz, F.M. & Peattie,K. (2012). Sustainable Marketing: A Global Perspective. West Sussex, U.K.: John Wiley and Sons.

Benesty, J., Chen, J., Huang, Y., & Cohen, I. (2009). Pearson correlation coefficient. In Noise reduction in speech processing, Springer, Heidelberg.

Bowen David E., & Ford Robert C. (2002), Managing Service Organizations: Does Having a ‘Thing’ Make a Difference? Journal of Management, 28(3), 69-447.

Butz Howard E. Jr., & Goodstein Leonard D. (1996), Measuring Customer Value: Gaining the Strategic Advantage, Organizational Dynamics, 24(3), 63–77.

Drucker. (2006). Classic Drucker. Harvard Business School Publishing Corporation. New York: Published by arrangement with Harvard Business Review Press.

Kotler, Kartajaya & Setiawan. (2010). Marketing 3.0 From Products to Customers to the Human Spirit, New Jersey: Published by John Wiley & Sons, Inc., Hoboken.

Kotler, Kartajaya & Setiawan. (2017). Marketing 4.0. Moving from Traditional to Digital, New Jersey: Published by John Wiley & Sons, Inc., Hoboken.

Kotter, J., Cohen, D. (2002). The heart of change: Real-life stories of how people change their organizations. Boston, Mass: Harvard Business School Press.

Kreutzer, K., & Walter, A. (2014). Customer involvement in organizational change: The effects of proactive and reactive involvement on employee attitudes and

loyalty. Journal of Service Research, 17(3), 284-299.

Kuo, Y. F. and L. H. Feng, (2013) Relationships among Community Characteristics, Perceived Benefits, Community Commitment, and Oppositional Brand Loyalty in Online Brand Communities, International Journal of Information Management, 33(6), 948-962.

Murr, C.K. (2008). Beyond Green Marketing: New Approaches for A Possible Implementation of Sustainable in Marketing. Saarbrucken, Germany: VDM Verlag Dr. Muller.

Payne, A., Frow, P. & Eggert, A. (2017). The customer value proposition: evolution, development, and application in marketing. Journal of the Acad. Mark. Sci.

(4), 467–489.

Porter, M.E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance, New York: Free Press.

Ravi P., & Pascale G. Q. (2016). How does brand innovativeness affect brand loyalty? European Journal of Marketing, 50(1/2), 2-28.

Liu Y.N., Liu B.W., & Li X. (2019). Analysis of factors influencing customer loyalty. Bohai rim economic outlook, 64(8), 816-823.

Tornroos, J. A., & Rintamäki, T. (2016). The effects of communication and trust on customer loyalty in an organizational change situation. Journal of Business Research, 69(9), 3678-3684.

Wirtz, J., den Ambtman, A., Bloemer, J., Horváth, C., Ramaseshan, B., van de Klundert, J., Gurhan Canli, Z. and Kandampully, J. (2013). Managing brands and

customer engagement in online brand communities, Journal of Service Management, 24(4), 223-244.