ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการทำงานจากที่บ้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และแรงจูงใจในการทำงานต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านการทำงานจากที่บ้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และแรงจูงใจในการทำงานต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของประเทศไทย จำนวน 420 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการทำงานจากที่บ้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการทำงาน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการทำงานจากที่บ้าน พบว่ามีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในงาน สำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ส่วนปัจจัยการทำงานจากที่บ้านไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหน่วยงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
เครือมาศ ชาวไร่เงิน และปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์พิบูลแถว. (2566). สมดุลชีวิตกับการทำงานในรูปแบบการทำงานที่บ้านของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 250-279.
จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2563). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. ไทยพีบีเอส. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/290347.
ชลธิศ ธรรมประภาส. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานสายสินเชื่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ย่านอโศก (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัญญณัท อินสว่าง และฉัตรพล มณีกูล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในช่วงเวลาการทำงานที่บ้านกรณีศึกษา บริษัทจำกัดแห่งหนึ่งที่ประกอบธุรกิจด้านการขายสินค้าและการให้บริการประเภทลิสซิ่ง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(11), 209-218.
ณัฐชนนท์ แก้วศุภร และธนวิทย์ บุตรอุดม. (2566). แนวทางการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานที่บ้านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ของเจ้าหน้าที่สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 20(88), 19-30.
ภรัณยู อภิมนต์บุตร และศุภฤกษ์ สุขสมาน. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจากที่บ้านของบุคลากรในสายสำนักงานกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 8(1), 97-111.
Allen, T. D., Golden, T. D., & Shockley, K. M. (2015). How effective is telecommuting? Assessing the status of our scientific findings. Psychological Science in the Public Interest, 16(2), 40-68.
Anderson, A. J., Kaplan, S. A., & Vega, R. P. (2015). The impact of telework on emotional experience: When, and for whom, does telework improve daily affective well-being? European Journal of Work and Organizational Psychology, 24(6), 882-897.
Aruldoss, A., Berube Kowalski, K., Travis, M.L. and Parayitam, S. (2022).The relationship between work–life balance and job satisfaction: moderating role of training and development and work environment. Journal of Advances in Management Research, 19(2), 240-271.
Bloom, N., Liang, J., Roberts, J., & Ying, Z. J. (2015). Does working from home work? Evidence from a Chinese experiment. The Quarterly journal of economics, 130(1), 165-218.
Bryman, A. (1996). Handbook of organization studies: Leadership in organization. London: SAGE Publications, Inc.
Charalampous, M., Grant, C. A., Tramontano, C., & Michailidis, E. (2019). Systematically reviewing remote e-workers' well-being at work: A multidimensional approach. European Journal of Work and Organizational Psychology, 28(1), 51-73.
Grant, A. M., Dutton, J. E., & Rosso, B. D. (2007). Giving commitment: Employee support programs and the prosocial sensemaking process. Academy of Management Journal, 50(3), 558-576.
Kim, J., & de Dear, R. (2013). Workspace satisfaction: The privacy-communication trade-off in open-plan offices. Journal of Environmental Psychology, 36,
-26.
Lindeman, R. H., Merenda, P. F., & Gold, R. Z. (1980). Introduction to bivariate and multivariate analysis. Illinois: Scott Foresman and Company.
Orissa, Natasha Aina Binti and Shahrom, Melissa. (2022). Factors affecting employees' performance in connection with the work from home requirements. Global Business and Management Research: An International Journal, 14(4s), 27-40.