ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วรวรรณ ทิพประเสริฐ
พีรญา ชื่นวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่าการบริการ ความภักดี และการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุ 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ที่ผ่านการหา IOC เท่ากับ 0.93 และที่ระดับความเชื่อมั่นที่ α = 0.5 เท่ากับ 0.947 และใช้สถิติบรรยายเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่า การบริการ ความภักดี และการตัดสินใจใช้บริการ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกรายการ 2) คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่าการบริการ และความภักดี ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือคุณภาพการให้บริการส่งผลทางบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านการรับรู้คุณค่าการบริการและความภักดี มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.722 และ 0.368 ตามลำดับ อิทธิพลทางบวกโดยตรงของคุณภาพการให้บริการกับการรับรู้คุณค่าการบริการ การตัดสินใจใช้บริการ และความภักดี เท่ากับ 0.598 0.772 และ 0.764 ตามลำดับ การรับรู้คุณค่าการบริการมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงกับความภักดี และการตัดสินใจใช้บริการ เท่ากับ 0.556 และ 0.616 ตามลำดับ ความภักดีมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงกับการตัดสินใจใช้บริการ เท่ากับ 0.777 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 นั่นแสดงว่า ผู้ใช้บริการจะตัดสินใจเลือกใช้บริการโดยพิจารณาจากคุณภาพการให้บริการและการรับรู้คุณค่าของการบริการและความภักดี

Article Details

How to Cite
ทิพประเสริฐ ว. ., & ชื่นวงศ์ พ. . (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 35–49. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/273956
บท
บทความวิจัย

References

ปิยาภรณ์ ชินวงค์พรหม. (2563). ความคาดหวังในคุณภาพและการรับรู้คุณค่าบริการของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ที่มีต่อการใช้บริการรถตู้โดยสาร. วารสาร มจร หริภุญชัยปริทรรศน์, 4(1), 50-62.

มินตรา จริยาภรณ์. (2559). การรับรู้คุณค่ากับความภักดีของการให้บริการธุรกิจร้านอาหาร Inter Brand กับ Local Brand : กรณีศึกษาเปรียบเทียบร้าน Greyhound Cafe และร้าน The Chocolate factory (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วราภรณ์ หลุมเจริญภักดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการบริษัทผู้ประกอบการขนส่งพัสดุของผู้ขายสินค้าออนไลน์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริรัตน์ ญาณปรีชา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของลูกค้าบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิวานนท์ จันทรประวัติ (2562). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทยที่ส่งผลต่อความภักดีด้านพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจสินค้าออนไลน์ในเขตภาคกลาง. วารสารการบริหารและการจัดการ, 9(1), 60-79.

สุรคุณ คณุสัตยานนท์ (2556) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคาร์แคร์ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1166/3/Surakhun.Khan.pdf.

SPOTLIGHT (2566). สำรวจตลาด E-Commerce ไทยโตแรง อีก 2 ปี มูลค่าตลาดเฉียด 7 แสนล้านบาท. สืบค้น 23 มีนาคม 2567 จาก https://www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/detail/48706.

ttb (2566). ttb analytics คาดธุรกิจขนส่งพัสดุปี 2566 โตต่อเนื่อง. สืบค้น 23 มีนาคม 2567 จาก https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/e-commerce-delivery-2566.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc, 1 – 330.

Johnston, R. (1995). The Determinants of Service Quality: satisfiers and dissatisfiers. International Journal of Service Industry Management, 6(5), 53–71.

Lloyd-Walker, B. and Cheung. Y.P. (1998). IT to Support Service Quality Excellence in Australia Banking Industry. Managing Service Quality. 8 (November), 350-358.

Orel, F. D., & Kara, A. (2014). Supermarket self-checkout service quality, customer satisfaction and loyalty: Empirical evidence from an emerging market. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(2), pages 118-129.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. & Berry, L.L. (1990). Delivery quality service: balancing customer perception and expectations. New York: A Division of Macmillan, Inc,1 – 226.

Patterson, John. (1980). Teaching Personalized Decision Making. Santa Clara Country K-12 Career Education Consortium Son Jose.

Schiffman, Leon G; & Kanuk, Leslie Lazar. (1994) Consumer Behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentic-Hall.

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality, and value: A means–end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2–22.