ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

Main Article Content

วัชริน อินชัย
ดลยา ไชยวงศ์
ศฐา วรุณกุล
สัตยา ตันจันทร์พงศ์

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำนวน 504 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี การปฏิบัติงานสอบบัญชี และความซับซ้อนของธุรกิจสหกรณ์ ส่วนปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมช่วยในการตรวจสอบ การควบคุมภายในของสหกรณ์ และความสามารถในการจัดทำบัญชีและงบการเงินของสหกรณ์ ไม่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีสหกรณ์ได้ตระหนักถึงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชี และเพิ่มทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อให้คุณภาพงานสอบบัญชีเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). แนวทางบริหารจัดการงานสอบบัญชีสำหรับผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ ปีงบประมาณ 2565. สืบค้น 6 มีนาคม 2565, จาก https://www.cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=47213&filename=regulation_12.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2559). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์. สืบค้น 6 มีนาคม 2565, จาก https://rlo.office.cpd.go.th/cooperative-knowledge/general-knowledge-about-cooperatives.html.

กิตติคม จีนเหรียญ. (2560). อิทธิพลของความรู้ความสามารถ คุณลักษณะหลักฐานการสอบบัญชีที่ดีและความสามารถทางการบริหารงานที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฏฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ณิชกานต์ รัศมีจาตุรงค์. (2564). การศึกษาคุณภาพการสอบบัญชีของบุคลาการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รชรินทร์ จักรฤทธิพงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ของผู้สอบบัญชีภาครัฐในพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตติยา สวัสดี. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์เคหสถาน/บ้านมั่นคง. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 2(5), 34-53.

วณิชฌา ผาอำนาจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วราพร เมืองโสม. (2560). ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยสอบบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 4 (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศิรินภา อันทรง, พร้อมพร ภูวดิน และสมใจ บุญหมื่นไวย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพงานสอบบัญชีภาษีอากรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์ โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี. สืบค้น 6 มีนาคม 2565, จากhttps://www.tfac.or.th/upload/9414/90dsuAnKAK.pdf.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 700 (ปรับปรุง) การแสดงความเห็นและการรายงานต่องบการเงิน. สืบค้น 6 มีนาคม 2565, จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/ttjvnkjJdF.pdf.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

Hair, J. F. , Anderson, R. E. , Tatham, R. L. , & Black, W. C. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.