แนวทางการพัฒนาโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช
ภัทธนันท์ นาน้ำเชี่ยว
ชมาพร แสงศรีจันทร์
สุภัทรา คัมภิรานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจศักยภาพของธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล
ภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ออกแบบประสบการณ์การบริการในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล ภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ
3) เป็นแนวทางในการยกระดับโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการเก็บจากกลุ่มตัวอย่าง


ผลวิจัยพบว่าศักยภาพของโรงแรมประเภทโฮสเทลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านการจัดการภายในที่พักแรม 3) ด้านการจัดการสถานที่ 4) ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ 5) ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ ผลวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์การบริการในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 1) ประสบการณ์การสร้างความทรงจำมิให้ลืมเลือน
2) ประสบการณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น 3) ประสบการณ์การพักผ่อนเสมือนอยู่บ้าน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบการยกระดับโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยาเพื่อนำไปสู่แนวทางในการยกระดับโรงแรมประเภทโฮสเทลภายในอำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2564). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564 ของ

กรมการท่องเที่ยว. วีไอพี ก๊อปปี้ปริ้น.

ฐิติรัตน์ มีเพิ่มพูศรี, ดวงเดือน จันทร์เจริญ, และชมสุภัค ครุฑกะ. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการ ของผู้ประกอบการธุรกิจโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences, 5(2), 344-357.

ณัฐชานันท์ นุ่นมีสี และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2565). แนวทางการจัดการโรงแรมระดับ 5 ดาวเพื่อตอบสนองต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวชาวจีนในเขตปกครองพิเศษเมืองพัทยา. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 47-62.

ดาวรุ่ง ฟักทอง, ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร, และปรเมษฐ์ คำชู. (2563). การสร้างความทรงจำด้วยการจัดการภูมิทัศน์ประสบการณ์สำหรับธุรกิจโรงแรม. University of the Thai Chamber of Commerce Journal Humanities and Social Sciences, 42(4), 171-189.

ดนุชา ฐานะ, อินทิรา เจริญชัยชนะวงศ์, และระชานนท์ ทวีผล. (2562). กระบวนการตัดสินใจเลือกที่พักแรมระดับ 5 ดาวของนักท่องเที่ยวสุภาพสตรีวัยทำงานชาวไทยในเขตภาคกลางกรณีศึกษาเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 5(2), 99-113.

ธนภร จรูญนิมมาน. (2566). กลยุทธ์นวัตกรรมบริการและการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ บริการของลูกค้าธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 106-118.

ธวัชชัย บุญมี และจิรวรรณ บุญมี. (2566). การจัดการธุรกิจโฮสเทลในจังหวัดเชียงใหม่ตามการ ท่องเที่ยววิถีใหม่ในสถานการณ์ โค วิด-19. Songklanakarin Journal of Management Sciences, 31-60.

ปราณี สกุลลิขเรศสีมา, สุกานดา กลิ่นขจร, และอัจฉรวรรณ ท้าวด่อน. (2562). คุณลักษณะของพนักงานบริการและคุณภาพการบริการตามการรับรู้ของพนักงานและลูกค้าธุรกิจโรงแรมใน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(16), 71-85.

พิมพ์พร พิมพ์สุวรรณ, ชาสินี สำราญอินทร์, และเบญจพร เชื้อผึ้ง. (2563). การพัฒนาที่พักแบบโฮสเทลเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(3), 147-161.

วัชรพงศ์ รติสุขพิมล. (2562). การวิเคราะห์ธุรกิจโฮสเทลในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร: โครงสร้าง ตลาดและการแข่งขัน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(1), 43-62.

สุวิมล จันโททัย และคณะ. (2561). แนวทางการจัดการคุณภาพการบริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเพื่อยกระดับการให้บริการโฮสเทลสไตลแคปซูล ในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 5 (187-199). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

อติพร สังข์เจริญ และอมรรัตน์ อมรศิริชัยรัตน์. (2559). The Yard Hostel Bangkok. สืบค้น 15 สิงหาคม 2566, จาก https://porlaewdeethecreator.com/the-yard-hostel-bangkok.

Dias, J. A., Correia, A., & Cascais, T. (2017). Traits in tourists’ experiences: Senses, emotions and memories. Co-creation and well-being in tourism, 179-194.

Kasikorn Research Center. (2021). Tourism in 2021 Has not yet Recovered, Hotel and Accommodation Businesses Have not yet Passed Through the Crisis. Retrieved 29 October 2023, from https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Hotel-2564-FB-29-01-21.aspx.

Kim, J. H., Ritchie, J. B., & McCormick, B. (2012). Development of a scale to measure memorable tourism experiences. Journal of Travel research, 51(1), 12-25.

Lai, I. K. W. & Hitchcock, M. (2016). A comparison of service quality attributes for stand-alone and resort-based luxury hotels in Macau: 3-Dimensional importance-performance analysis. Tourism Management, Elsevier.55(C),139-159.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

TAT REVIEW. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศปี 2565. สืบค้น 30 สิงหาคม 2566, จาก https://tatreviewmagazine.com/article/situation2022-domestic.