ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok กับการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของ Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อภิเษก ดูเบย์
พรพรหม ชมงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok ของ Gen Z  2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจาก
แอปพลิเคชัน TikTok ของ Gen Z และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ Gen Z กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ Gen Z ช่วงอายุระหว่าง 15 – 30 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)


ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการเลือกรับรู้และตีความหมายมีความสำคัญต่อการเปิดรับ
แอปพลิเคชัน TikTok  เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าใจถึงกระแสนิยมต่างๆ ได้จากเเอปพลิเคชัน TikTok 2) ความต้องการด้านสังคมมีความสำคัญต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้ TikTok ของ Gen Z เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างคิดว่าแอปพลิเคชันTikTok ควรมีการจำแนกอายุในการเข้าถึงเนื้อหา 3) การเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของ Gen Z อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงชัย เหลืองภัทรเชวง. (2540). การเปิดรับสารความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของพนักงานในโรงงาน กลุ่มบริษัทมินิแบ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/81625/.

จันทราครา สถิตาภรณ์. (2563). TikTok คือแอปอะไร ทำไมถึงมาแรง?. สืบค้น 4 ธันวาคม 2565, จาก https://clib.psu.ac.th/km/what-is-tiktok/.

ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2557). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared) ผ่าน เฟสบุ๊ค (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1635/.

ปิโรจน์ คริส. (2561). Gen C คืออะไร? พฤติกรรม Generation C มีอะไรน่าสนใจ. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2565, จาก https://greedisgoods.com/gen-c-คือ-generation-c/.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.

Blumler, J.G. and Katz, E. (1974). The Uses of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications Research. New York: Praeger.

Burnett, R. and Marshall, P. D. (2003). Web Theory. London: Routledge.

Digimusketeers. (2564). รู้จัก TikTok ดีพอหรือยัง และจะสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดบนแพล็ตฟอร์มนี้อย่างไร?. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2565, จาก https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/what-is-tiktok./.

Hoyer, W. D. and MacInnis, D. J. (2001). Consumer Behaviour. Boston: Houghton Mifflin.

Klapper, J. T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York: The Free Press.

Rosengren, K. E. (1974). Uses and gratifications: A paradigm outlined. In J. G. Blumler, & E.

Katz (Eds.), The Uses of Mass Communication. Beverly Hills, LA: Sage.

TikTok. (2564). เจาะลึกเหตุผลที่ทำให้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มมาแรงแห่งปี. สืบค้น 16 ธันวาคม 2565, จาก https://newsroom.tiktok.com/th-th/top-reasons-why-everyone-heard-about-tiktok./.

Valentine, A. (2008). Uses and Gratifications of Facebook Members 35 years and Older (Unpublished master's thesis). Texas: University of North Texas. Retrieved from https://digital.library.unt.edu/ark:/67531/metadc84293/#:~:text=Findings%20provide%20a%20baseline%20of,with%20people%20in%20their%20network./.