พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ของจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อภิไทย แก้วจรัส
ชวลีย์ ณ ถลาง
เสรี วงษ์มณฑา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารท้องถิ่นภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาใช้บริการร้านอาหารท้องถิ่นภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด 405 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ Chi – Square ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่สนใจเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ มีความชื่นชอบในอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ รับประทาน 1 – 2 ครั้ง
ต่อสัปดาห์ ประเภทแกง ในช่วงมื้ออาหารกลางวัน มีการสืบค้นข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร ส่วนใหญ่รับประทานกับครอบครัว หรือญาติ รับประทานในร้านอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ มีค่าใช้จ่าย 201 – 300 บาทต่อครั้ง โดยใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทางไปรับประทานอาหารท้องถิ่น ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความต้องการในการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเลือกจากรูปลักษณ์ของอาหาร 


            ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ในภาพรวมลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
แก้วจรัส อ. ., ณ ถลาง ช. ., & วงษ์มณฑา เ. . (2023). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออาหารท้องถิ่นภาคเหนือ ของจังหวัดเชียงใหม่ . วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(3), 1–15. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/270267
บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติของ นักท่องเที่ยวชาวไทย. สืบค้นจาก, https://secretary.mots.go.th/policy/.

ชิษณุพงศ์ ศิริโชตินิศากร. (2559). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไทยโพสต์ออนไลน์. (2566). Soft Power อาหารไทยเครื่องมือใหม่ในการสร้างรายได้เข้าประเทศ. สืบค้นจาก, https://www.thaipost.net/economy-news/361161/.

ไทยแลนด์พลัสออนไลน์. (2566). Soft Power อาหารไทย ฟันเฟืองใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก, https://www.thailandplus.tv/archives.

ธัญลักษณ์ ถาวรจิต. (2564). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อสุขภาพในเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 3(1), 41-56.

นันทิยา ตันตราสืบ และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2561). วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นสู่รูปแบบการท่องเที่ยวอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน. 9(1), 139-158.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.

พิบูล ทีปะปาล. (2543). แนวคิดและทฤษฎีด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การบริหารการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

พิชญ์สินี บุญญานุพงศ์ และปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารและความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 1(1), 37-47.

พรรณี สวนเพลง และพรเทพ ลี่ทองอิน. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร รายงานภาวะเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว 2559, 4(2), 38-45.

เมธา หริมเทพาธิป. (2565). ทฤษฎีความต้องการของแมกคลีลแลน์. สืบค้นจาก, http://www.gotoknow.org/posts/629840.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เลิศพร ภาระสกุล. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิราภรณ์ โลหะชาละ. (2562). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2561-2565). สืบค้นจาก, https://www.chiangmai.go.th/managing/public/article3.

อัญชลี สมใจ และ พันธุ์รวี ณ ลำพูน. (2563). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 15(2), 13-27.

อรอนงค์ ทองมี. (2558). วัฒนธรรมอาหารล้านนา: การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิจัยและงานสร้างสรรค์. 2(1), 25-54.

Ellis, A., Park, E., Kim, S. & Yeoman, I. (2018). What is food tourism? Progress in Tourism Management, 68, 250-263.

Tsai, C. T. S., & Wang, Y. C. (2017). Experiential value in branding food tourism. Journal of Destination Marketing & Management, 6(1), 56-65.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.