ทักษะการตรวจสอบภาษีและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1

Main Article Content

รัตติยา เปรื่องประยูร
กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการตรวจสอบภาษี ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1 และเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1 จำนวน 264 คน ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ 


     ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการตรวจสอบภาษีและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า ทักษะการตรวจสอบภาษี ประกอบด้วย ทักษะทางวิชาชีพ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการสื่อสาร และปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความมั่นคงก้าวหน้าในงาน และสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมในองค์กรมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1

Article Details

How to Cite
เปรื่องประยูร ร. ., & สุขวัฒนาสินิทธิ์ ก. . (2023). ทักษะการตรวจสอบภาษีและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(2), 107–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/270007
บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมสรรพากร. (2565). หน้าที่ความรับผิดชอบและโครงสร้างอัตรากำลัง. สืบค้น 26 กันยายน 2565, จาก http://10.26.31.7/jortor/orgreport/MySQLreport 04V2. php?pak=02.

ประสิทธิ์ชัย พิภักดี. (2552). ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทนิเด็คอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ฐิตาฉัตร แป้นดวงเนตร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซีพีเมจิ จำกัด (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภารักษ์ สุจารี และ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). อิทธิพลของทักษะนักตรวจสอบภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(4), 1529-1545.

สุรีย์พร น้อยมณี. (2558). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสรรพากรภาค 1 ส่วนวางแผนและประเมินผล. (2564). รายงานผลการจัดเก็บภาษีอากรของสำนักงานสรรพากรภาค 1. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก http://10.32.1.7/taxcol/.

อังค์วรา สารลึก. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของธนาคาร บริษัท เค.พี.ที. พาราวู้ด จำกัด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อัมพร เที่ยงตระกูล. (2557). ความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณค่าทางวิชาชีพของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตภายใต้มาตรฐานสากลที่มีผลต่อการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับ อนุญาตของผู้ใช้บริการกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis 3rd Ed. New York, NY: Harper and Row Publications.