ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคใต้)

Main Article Content

ปฐมพงษ์ รัตนากร
สอาด บรรเจิดฤทธิ์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจในการชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคใต้) และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีกับการตัดสินใจในการชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคใต้) วิธีดำเนินการวิจัยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติพรรณนาประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการตัดสินใจในการชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคใต้) ด้านภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) การยอมรับเทคโนโลยีการชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ด้านการรับรู้และเข้าใจประโยชน์จากการใช้งานด้านการรับรู้และเข้าใจความง่ายต่อการใช้งาน และด้านทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการชำระค่าไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองรายได้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2566). ช่องทางชำระค่าไฟฟ้า. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.pea.co.th/.

เกวรินทร์ สระบุรินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกชำระเงินผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นสตาร์ไทยแลนด์ (Starbucks Thailand Mobile Application) (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802031632_5835_4175.pdf.

ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3023/3/chayaporn_kiti.pdf.

บริษัทธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). (2561). E-Payment ภาครัฐ ดีเดย์ 27 มีนาคมนี้เป็นต้นไป หน่วยงานราชการ พร้อมก้าวสู่สังคมไร้เงินสดรับชำระผ่านบัตร และ QR CODE. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2566, จาก https://krungthai.com/th/krungthai-update/news-detail/24.

เมธานนท์ คงมี. (ม.ป.ป.). การตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันเงินออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ใช้บริการในจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat17/6214060147.pdf.

วิชาดา ไม้เงินงาม. (2563). พฤติกรรมและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2841/1/60601310.pdf.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ปริมาณธุรกรรมชำระเงินออนไลน์เติบโตต่อเนื่อง ขณะที่การต่อยอดธุรกิจของผู้ให้บริการยังเป็นโจทย์สำคัญ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3378). สืบค้น 1 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/financial/Pages/CI3378-Online-Payment-Growth.aspx.

สุกัญญา เพ็งธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของประชากรในเขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 1(1), 36-45.

อรุโณทัย พยัคฆงพงษ์. (2560). แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีในการแข่งขันทางการตลาด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 128-136.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Davis, F.D., Bagozzi, R.P., and Warshaw, P.R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982-1003.

Kotler, P., Keller, K.L. (2012). MARKETING MANAGEMENT. 14th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Lai, P.C. (2017). THE LITERATURE REVIEW OF TECHNOLOGY ADOPTION MODELS AND THEORIES FOR THE NOVELTY TECHNOLOGY. JISTEM-Journal of Information Systems and Technology Management, 14(1), 21-38.