พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร

Main Article Content

พูนทรัพย์ เศษศรี
ชวลีย์ ณ ถลาง
เสรี วงษ์มณฑา
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับปัจจัยส่วนบุคคลในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ จังหวัดยโสธร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร หรือเคยเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร จำนวน 400 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ Chi-Square, t-test, F-test หรือ ANOVA กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดยโสธร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท สถานภาพโสด และภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ มีระยะเวลาในการเดินทางมาท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 2 วัน ช่วงเวลาในการเดินทางมาจังหวัดยโสธรคือวันเสาร์และวันอาทิตย์มีความถี่ในการเดินทางมาจังหวัดยโสธร 1 ครั้งต่อปี มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรแต่ละครั้งมากกว่า 3,001 บาท ขึ้นไป เดินทางมากับครอบครัวหรือญาติ โดยเลือกท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด เลือกพักในที่พักประเภทโรงแรมและเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว  ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรจากการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร


จากการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ภูมิลำเนา ของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และสมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ ภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่แตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้มีเพียงปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศแตกต่างกัน มีระดับการตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). การท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร. สืบค้นจาก https://i-san.tourismthailand.org/1831/.

กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์. (2563). แนวทางการพัฒนาแผนการตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 9(1), 13-21.

ชลพลกฤต รัตน์นราทร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเมืองรอง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุณฑริกา หวังล้อมกลาง และโอชัญญา บัวธรรม. (2564). เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน: ร้อยเรื่องเมืองยโสธร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 15(2), 168-180.

เบญจวรรณ ขวัญมา. (2564). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดโก้งโค้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. 13(2), 125-134.

ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2565). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 16(2), 1-19.

ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2556). ดีโมพีเดีย พจนานุกรมประชากรศาสตร์พหุภาษา ฉบับปรับให้เป็นเอกภาพ (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะพงศ์ พัดชา ชวาลศักดิ์ เพชรจันทร์ฉาย และชฎามาศ ขาวสะอาด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ กลุ่มจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 5(1), 87-102.

พิศมัย จัตุรัตน์. (2565). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 16(2), 50-64.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2551). หลักการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรวลัญช์ วิวรรธน์นิธิ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2565).ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยการจัดการวไลอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(1), 11-25.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์. สืบค้นจาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และเสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1), 244-256.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2565). จับตา ไทยเที่ยวไทยยอดพุ่งครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีโต 161.7% สร้างรายได้ราว 7.2 แสนล้านบาท. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/268652.

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2551). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร. นักท่องเที่ยวและนักเดินทางชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดยโสธรในปี 2562. สืบค้นจาก https://yasothon.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=500.

สุกัญญา พวกสนิท และประสพชัย พสุนนท์. (2564). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 12(2), 203-215.

อัณณ์จิรภา ธนาชัยกุลวัฒน์ และศรัญญา กันตะบุตร. (2563). กระบวนการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวต่างชาติในการเลือกท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว. การประชุมวิชาการการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2563. 118-127. สืบค้นจาก https://incbaa.kku.ac.th/img/files/articles/df768-22.d8.pdf.

Cohen, S. A., Prayag, G., & Moital, M. (2014). Consumer behaviour in tourism: Concepts, influences and opportunities. Current Issuses in Tourism, 17(10), 872-909.

Howell, D.W. (1993). Passport: An Introduction to the Travel and Tourism Industry (2nd ed.). Cincinnati, Ohio: South - Western Publishing Co..

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. New Jersey:A simon & Schuster Company.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.