การพัฒนารูปแบบกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัย สนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Main Article Content

ภัทราพร ทิพย์มงคล
ลลิดา แก้วฉาย
รวีพรรณ กาญจนวัฒน์
ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์
วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี สนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ 3) ทดลองและประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี  สนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร คณบดี ผู้อำนวยการ/หัวหน้าสำนัก จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน และการวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวจำนวน 40 คน ด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า มหาวิทยาลัยมีแหล่งเรียนรู้ และศักยภาพเหมาะสมต่อการจัดเส้นทางการท่องเที่ยว ควรมีกิจกรรมที่มีความหลากหลาย สามารถเรียนรู้เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย และกิจกรรมที่สามารถพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยทั้งหมดมี 14 กิจกรรม สามารถสังเคราะห์รูปแบบการท่องเที่ยวได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนในมหาวิทยาลัย 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงเกษตร 3) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ทักษะอาชีพ และนำเสนอในรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวสำเร็จรูป (Package) แบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบค้างคืน 1 คืน 2 วัน และเส้นทางท่องเที่ยวรูปแบบเต็มวัน 1 วัน และจากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจของต่อรูปแบบและเส้นทางการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัย สนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยรวมที่ระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.25) จำแนกตามรายด้านดังนี้ 1) กิจกรรม (Activity) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจที่ระดับมากในทุกประเด็น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.34) ได้แก่ กิจกรรมมีความหลากหลาย เสริมทักษะ ช่วงเวลาจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม และเส้นทางมีความน่าสนใจ 2) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ มีการทดลองทำ และความโดดเด่นด้านการสร้างการเรียนรู้ ทุกเพศ ทุกวัย นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.33) 3) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.28) ได้แก่ พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการทำกิจกรรม มีห้องสุขาเพียงพอ มีสถานที่จอดรถเพียงพอ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลและมีร้านอาหารและเครื่องดื่มเพียงพอ  มีข้อเสนอแนะควรเพิ่มตู้เอทีเอ็มในเส้นทางการท่องเที่ยว 4) ที่พัก (Accommodation) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจที่ระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.15) ในทุกประเด็น ได้แก่ ที่พักตั้งอยู่ในพื้นที่เหมาะสม ปลอดภัย ที่พักมีราคาเหมาะสม ที่พักเพียงพอต่อ และมีข้อเสนอแนะควรห้องพักมีให้เลือกหลากหลาย 5) การเข้าถึง (Accessibility) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจที่ระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 4.12) ได้แก่ สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายมีป้ายสื่อความหมายที่ชัดเจน มีบริการรถรับ - ส่ง มีป้ายบอกทางตลอดเส้นทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลวดี ละม้ายจีน. (2552). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. อุบลราชธานี: สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

โชติรส สุวรรณรัตน์ และวรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2562). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 11(2), 472-487.

ดุษณี ดํามี. (2557) การศึกษาตลอดชีวิต: พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 1(2), 12-30.

เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

นนลณีย์ วรจรัสวิทย์, ภัทราวดี มากมี และพูลพงศ์ สุขสว่าง. (2562) การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวในเขตลุ่มแม่น้ำบางปะกง. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 17(1), 141-157.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(2), 208-222.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์, ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ และอารี ผสานสินธุวงศ์. (2022). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสําหรับการเรียนรู้วิถีเกษตรเพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 18(1), 1-11.

รักกิจ ศรีสรินทร์. (2554). การเรียนรู้ตลอดชีวิต. กองการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(1), 12-28.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14(26), 159-175.

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD. สืบคนจาก https://www.ryt9.com/s/nesd/42724.

สุจิตรา หนูมีและเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2563). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 7(1), 43-68.

สุรสิทธิ์ วิเชียร และคณะ. (2561). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวไทยต่อการเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(1), 13-24.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). รายงานวิจัยปฏิบัติการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนบางตะบูนและชุมชนบ้านแหลม อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี.วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน. 4(1), 97 – 114.

อรรทวิท ศิลาน้อย. (2562). ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพระบรมธาตุนาดูน สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10(2), 130-143.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

McGladdery, C.A. and Lubbe, B.A. (2017), Rethinking educational tourism: proposing a new model and future directions, Tourism Review, 72(3), 319-329.

Rinaldi, C., Cavicchi, A., Spigarelli, F., Lacchè, L., & Rubens, A. (2018). Universities and smart specialisation strategy: From third mission to sustainable development co-creation, International Journal of Sustainability in Higher Education, 19(1), 67-84.

Samaraweera, K.G., and Upekshani, Y., (2019). An empirical analysis to investigate the influence of 5A’s on domestic tourists’ satisfaction in Hikkaduwa, Sri Lanka, conference proceedings: South Eastern University International Arts Research Symposium -2019, 18th December 2019, (pp. 269- 285). http://ir.lib.seu.ac.lk/handle/123456789/4214.

Tomasi, S., Paviotti, G., & Cavicchi, A. (2020). Educational Tourism and Local Development: The Role of Universities. Sustainability, 12(20), 1-15.