การศึกษาปัจจัยทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภัทรภร พุฒพันธ์
พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามลักษณะของประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการทดสอบเครื่องมือโดยการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา ใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานีให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก  = 4.09 ซึ่งเมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามากที่สุด จากผลของการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ กับปัจจัยด้านการตลาด พบว่า 1) เพศต่างกัน มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ในด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างกัน 2) อายุต่างกันมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ในด้านผลิตภัณฑ์ต่างกัน 3) ระดับการศึกษา ต่างกัน มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายต่างกัน และ 4) รายได้เฉลี่ยต่างกัน มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ในด้านผลิตภัณฑ์ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศทิพย์ กรี่เงิน สมภพ สุวรรณรัฐ และ สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย ของผู้บริโภค. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(1), 183-198.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). สินค้าของจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก https://www.otoptoday.com/view_prov.php?region=1&prov=13

เจกิตาน์ ศรีสรวล และณัฐพร อิฐสุวรรณ กัง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(4), 79-89.

ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันทางการตลาด บ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(2), 121-130.

เมธาวี จำเนียร. (2564). อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์ กรณีศึกษา การแสดงรำโทนนกพิทิด. วารสารราชพฤกษ์. 19(2), 1-12.

วีรวิชญ์ บุญส่ง. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สศ 2211402 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 ระหว่างการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(1), 53-65.

วรวลัญช์ วิวรรธน์นิธิ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(1), 11-25.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้นจาก http://123.242.173.131/pathumthani_news/report_view.php?id=7470

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2563). โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลติภัณฑ์. สืบค้นจาก https://cep.cdd.go.th/เกี่ยวกับ-otop/ข้อมูลทั่วไปotop.

อดิศักดิ์ ลักษณะสี และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปของผู้บริโภคในศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอป จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. 5(1), 59-72.

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Armstrong, G., and Kolter, P. (2009). Marketing, an introduction. (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed.. New York: John Wiley & Sons

Etzel, M., and Stanton, W. (2007). Marketing14 International Edition 2007. Boston: McGraw Hill