การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ท ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ณัฐภัทร บัณฑิตวรากุล
เสาวลักษณ์ จิตต์น้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพบริการ และความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ท ในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ท ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการชาวไทยอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 424 คน อัตราการตอบกลับร้อยละ 100 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณ


ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้คุณภาพบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้านการให้ความมั่นใจต่อลูกค้าไว้วางใจ และด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้าไว้วางใจส่งผลเชิงบวกต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ท ในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
บัณฑิตวรากุล ณ. ., & จิตต์น้อม เ. . (2022). การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ท ในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 91–107. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/264645
บท
บทความวิจัย

References

ไข่มุกด์ วิกรัยศักดา. (2562). ความสำคัญของประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจบริการการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันทางการตลาดในโลกอนาคต.Humanities, Social Sciences and arts, 12(2). 537-555.

คณิต ไข่มุกด์. (2546). สถิติพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สายฝน.

ฐานเศรษฐกิจ. (2564, 27 กุมภาพันธ์). ธุรกิจโรงแรมปี 64 ยังซบ คาดฟื้นตัวปี 65 – 66. (Update 2564, กุมภาพันธ์ 27; Retrieved 2564 กันยายน 5). อ้างอิงได้จาก: https://www.thansettakij.com/business/470304

เทียนชัย งามนา. (2560). การรับรู้คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการหอพักเอกชน: กรณีศึกษา เขตพื้นที่เทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University. 4(1). 47-71.

นาถวุทธิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2565). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมบริการ: กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 3ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(1). 51-64.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ใจ ลิ่มวัฒนา. (2563). การรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการโรงแรมระดับ 3 ดาว ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33(2). 85-99.

มนสิชา ซาวคำ. (2564). วิกฤตและโอกาสของภาคธุรกิจโรงแรมที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารการท่องเที่ยว และการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1). 1-11.

วิทยา เจียมธีระนาถ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าโรงแรมระดับ 4 ดาว ในกรุงเทพมหานคร. NRRU Community Research Journal, 14(4). 144-158.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน, (2563, 8 กรกฏาคม). ธุรกิจโรงแรม. (Update 2563, กรกฎาคม 8; Retrieved 2564 กันยายน 5). อ้างอิงได้จาก: https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/7865/

สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2564). สิ่งแวดล้อมในโรงแรมปลอดภัยเอื้อต่อสุขภาพผู้ใช้บริการสร้างความมั่นใจ ไร้โควิด-19. (Update 2564; Retrieved 2564 กันยายน 5). อ้างอิงได้จาก: https://ghh.anamai.moph.go.th/origin

สุพรรณี ศรีรงค์. (2563). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการธุรกิจให้บริการส่งอาหาร ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน, 14(1). 483-491.

เสาวภาคย์ ศรีเปารยะ. (2564). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์ของโรงแรมที่ส่งผลต่อความภักดีของแขกที่เข้า พักโรงแรมระดับสามดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Mice – Korat. (2564, สิงหาคม 28). WHY KORAT?. (Update 2564, สิงหาคม 28; Retrieved 2564 กันยายน 5). อ้างอิงได้จาก: http://koratmice.com/whykorat.html

Oliver, R. (1999). Whence Consumer Loyalty?. Journal of Marketing, 63(Special Issue). 33-44.

Parasuraman A., Zeithaml Valarie A. and Berry, Leonard L.. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale For Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1). 12-40.