การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและกลุ่มอ้างอิงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ศศิ ศิริกาญจนารักษ์
อิราวัฒน์ ชมระกา
ภาศิริ เขตปิยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ กลุ่มอ้างอิงและการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและกลุ่มอ้างอิง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)  ผลการวิจัยพบว่าความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และความสำคัญของปัจจัยกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 สำหรับผลศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ การขายโดยบุคคล การประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการขาย เป็นการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และกลุ่มอ้างอิงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ กลุ่มเพื่อน กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และกลุ่มสมาชิกในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ศิริกาญจนารักษ์ ศ. ., ชมระกา อ. ., & เขตปิยรัตน์ ภ. (2022). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและกลุ่มอ้างอิงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านเฮือนลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 64–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/263837
บท
บทความวิจัย

References

จิธญา ตรังคิณีนาถ นฤมล ลาภธนศิริไพบูลย์ ยลชนก ขวดพุทราและปาณิศา วิชุพงษ์. (2565). ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่และการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภค, วารสารนวัตกรรมธุรกิจการจัดการ และสังคมศาสตร์. 3(1), 42-63.

ณิชาภัทร สุรวัฒนานนท์. (2563). การท่องเที่ยวกับบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฮีโร่จำเป็นหรือ ฮีโร่ตัวจริง. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2019.aspx.

ธนิดา รุ่งธนาภทัรกุล สุมาลี รามนัฏ. (2563). คุณค่าตราสินค้าในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ กรณีศึกษา บริษัท เอ็มเดคอินเตอร์เนชั่นแนล (1991) จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บงกช รัตนปรีดากุล. (2554). อิทธิพลของทัศนคติและบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า และบริการออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด 19, วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4(1), 160-167.

ปฐมาพร เนตินันทน์. (2562). ปัจจัยหลักของกลุ่มอ้างอิงในฐานะเครื่องมือสื่อสารตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของ “Gen Y”, วารสารปัญญาภิวัฒน์. 11(2), 291-308.

รมย์ธีรา จิราวิภูเศรษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์. 2(2), 102-114.

Cochran, W. G. (1963). Sampling techniques, (Second Edition). New York: John Wiley and Sons, Inc

Schultz, D.E. (2003). Relax old marcom notions, consider audiences. Marketing News, 37 (22), 6, 8.

Terence, A. Shimp. (2010). Integrated Marketing Communications in Advertising and Promotion, 8e. China: China Translation & Printing Services Limit 199.