ส่วนประสมตลาดบริการและการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการสร้างความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์คจังหวัดอุตรดิตถ์ ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น

Main Article Content

ณัฐธวัช สุนพงศรี
ศิริกานดา แหยมคง
อิราวัฒน์ ชมระกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมตลาดบริการ การตลาดเชิงประสบการณ์ และความพึงพอใจของลูกค้าศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์คจังหวัดอุตรดิตถ์ ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น 2. เพื่อศึกษาส่วนประสมตลาดบริการและการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์ค
จังหวัดอุตรดิตถ์ ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์ค จังหวัดอุตรดิตถ์ จํานวน 385 คน ใช้วิธีการเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามอย่างมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน


             ผลการวิจัย พบว่า ความสำคัญของส่วนประสมตลาดบริการของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์คจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ความสำคัญของการตลาดเชิงประสบการณ์ของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์ค จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านประสบการณ์ทางความคิด และความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์คจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความเข้าใจรู้จักลูกค้า


             การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมตลาดบริการส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์ค 4 ตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ สินค้าและบริการ องค์ประกอบทางกายภาพ บุคลากร และกระบวนการการตลาดเชิงประสบการณ์ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์ค 4 ตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ด้านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ด้านประสบการณ์ทางความรู้สึกด้านประสบการณ์ทางความคิด และด้านประสบการณ์ทางการกระทำ

Article Details

How to Cite
สุนพงศรี ณ. ., แหยมคง ศ. ., & ชมระกา อ. . (2022). ส่วนประสมตลาดบริการและการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการสร้างความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการศูนย์การค้าศรีพงษ์พาร์คจังหวัดอุตรดิตถ์ ยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่น. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 77–90. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/263833
บท
บทความวิจัย

References

กฤษลักษณ์ ชุ่มดอกไพร. (2564). ปัจจยัสว่นผสมทางการตลาด7P's ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจใน การใช้บริการศูนย์การค้าดองกิมอลล์ ทองหล่อ. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์. (2563). โลกค้าปลีกได้เปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน ธุรกิจรีเทลต่อจากนี้ กับภารกิจปรับตัวครั้งใหญ่ รับผลกระทบโควิด-19. สืบค้นจากhttps://www.marketingoops.com/exclusive/retail-covid-19-business-crisis/.

กำพล ลิขิตกาญจนกุล. (2561). วิธีอยู่รอดของห้างสรรพสินค้าที่กำลังจะตาย. สืบค้นจาก https://www.gqthailand.com/style/article/a-revilution-in-retail.

ติกาหลัง สุขกุล และมนต์ ขอเจริญ. (2560). การสื่อสารภายใน การสื่อสารการตลาด และการตลาดเชิงประสบการณ์ เพื่อการสื่อสารแบรนด์ และการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี และมิวเซียมสยาม. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย.

ชญาดา เอี่ยมวงศ์นที. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการซือสินค้าแม็กซ์แวลูของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธิดา ลีลาวรกุล (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า การรับรู้คุณภาพของสินค้าและบริการและส่วนผสมการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการ ห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธเนศ สุนพงศรี และ ลำยงค์ สุนพงศรี. สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2564.

แบรนด์ปัฟเฟ่ต์. (2560). กลยุทธ์ “ค้าปลีกไทย” ฝ่าวิกฤตจากแรงบีบ Digital Disruption พร้อมเปลี่ยนสู่ยุค Shopping Center. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/10/5-strategies-thai-shopping-center-move-forward-to-shopping-center-4-0/.

ฝนริน ชนะกำโชคเจริญ. (2563). อิทธิพลของการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ การแนะนำต่อ และการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเยี่ยมชมมิวเซียมสยาม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ลภัส วิมลโนธ และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าวของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

มะลิวัลย์ แสงสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยความเชื่อมั่นและความภักดี ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุฑารินี เกยานนท์. (2563). การตัดสินใจเลือกใช้บริการห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพรรณี สมศรี. (2560). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแนวคิดการตลาดเชิงประสบการณ์ของ สถานที่ท่องเที่ยวดาษดาแกลเลอรี่. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ (พ.ศ.2561-2565). อุตรดิตถ์: สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์.

Culha, O. (2020). The effect of food festival quality on place attachment and destination recommendation intention through festival experience and festival satisfaction. Journal of Convention & Event Tourism, 21(5), 387-416.

Kotler, Philip.; Keller, Kevin Lane. (2019). Marketing management(13thed). New Jersey: Pearson Education Inc.

Miles, J., & Shevlin, M. (2001). Applying regression and correlation: A guide for students and researchers. London: Sage.

Schmitt, B. H. (1999). Experiential Marketing. New York: Free Press.

W.G. Cochran. (1963). Sampling Techniques. XVII + 413 S. New York.