การมีส่วนร่วมของชุมชนชาติพันธุ์ม้งเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

มัทรี สีมา
อำพร กันทา
วรัญญ์คมน์ รัตนะมงคลชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนชาติพันธุ์ม้งเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากประชากรชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านม้ง 5 หมู่บ้าน จำนวน 400 คน โดยใช้รูปแบบการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านแม่สาใหม่ หมู่บ้านบวกจั่น หมู่บ้านผานกกก และหมู่บ้านแม่สาน้อยต้องการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานหรือกิจกรรมของหมู่บ้านมากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างหมู่บ้านบวกเต๋ยมีความต้องการในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของชุมชนมากที่สุด ทั้งนี้ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนชาติพันธุ์ม้งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่พบว่ากลุ่มตัวอย่างหมู่บ้านบวกเต๋ย หมู่บ้านผานกกก และหมู่บ้านแม่สาน้อยมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุด สำหรับกลุ่มตัวอย่างหมู่บ้านแม่สาใหม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานหรือกิจกรรมของหมู่บ้านมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างหมู่บ้านบวกจั่นมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. จาก https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report.

ชฎากรณ์ หลวงแก้ว. (2548). รูปแบบและช่องทางการสื่อสารเพื่อส่งต่อนโยบายจากผู้บริหารสู่ผู้ปฏิบัติของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิรุตร์ แก้วหล้า. (2560). การปรับวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กับธุรกิจการท่องเที่ยว ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มนุษยศาสตร์ในทศวรรษใหม่: พลวัตแห่งองค์ความรู้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม”. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.วันที่ 18-19 สิงหาคม 2554

ประชุม สุวัติถี. (2551). การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์

รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน. (2562). การเคลื่อนไหวทางสังคมบนโซเชียลมีเดีย โอกาสของชุมชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยมือถือ?. ชุดความรู้การสื่อสารสาธารณะพลังสร้างการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ: สำนักเชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ฐิติอลีนา ใจเพียร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน: ภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารท้องถิ่น), คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์; มหาวิทยาลัยเนชัน.

วิทยา โปทาศรี และวิทยา จิตนุพงศ์. (2557). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา : อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). เอกสารสรุปบทเรียนที่ดีของการดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ. กรุงเทพมหานคร.

สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต; มหาวิทยาลัยเนชั่น.

Arnstein, S. R. (1969). "A Ladder of Citizen Participation." Journal of the American Institute of Planners, 35(4): 216-224.

Martilla, J. A., & James, J. C. (1977). Importance-performance analysis. Journal of Marketing, 41(1), 77–79.

Wong, M. S., Hideki, N., George, P. (2011). The Use of Importance-Performance Analysis (IPA) in Evaluating Japan’s E-government Services. Journal of Theoretical and Applied Electronic Commerce Research, 6(2), 17-30.