ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกรับข่าวสารกับพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกรับข่าวสารกับพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกัน COVID 19 ของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเลือกรับข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID 19 ของ Gen Y 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกัน COVID 19 ของ Gen Y 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกรับข่าวสารกับพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกัน COVID 19 ของ Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้รับวัคซีนป้องกัน COVID 19 ที่มีอายุระหว่าง 22-41 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 138 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เน้นที่การเลือกรับรู้และการตีความหมายในการเลือกรับข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID 19
เพราะทราบว่าโรค COVID 19 เป็นโรคที่ใกล้ตัว 2) ขั้นการยอมรับความเสี่ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกัน COVID 19 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นทำให้ท่านไม่ป่วยเป็นโรค COVID 19 แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อ COVID 19 อยู่ จึงต้องไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID 19 3) การเลือกรับข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID 19 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกัน COVID 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขนิษฐา ชื่นใจ และ บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. บทความวิชาการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชุดา จิตพิทักษ์. 2525. พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สารมวลชน.
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1.
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2563). ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย ในมุมมองแต่ละ Gen. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/07.
สาธนีย์ แซ่ซิ่น. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางสื่อออนไลน์. วารสารรัชต์ภาคย์, 472.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ. (2563). ข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อีกข่าวหนี่ง สัมภาษณ์ประธานกรรมการบริหาร ของโครงการวัคซีนในมนุษย์. สืบค้นจาก
http://www.tncathai.org/images/NCAB/ncab-article86.pdf
Klapper, J. T. (1960). Effects of mass communication. New York: Free Press.
Shekhar, R., Sheikh, A. B., Upadhyay, S., Singh, M., Kottaewar, S., and Mir, H. (2021). COVID-19 Vaccine Acceptance among Health Care Workers in the United States. Vaccines 2021:9.
World Health Organization. (2017). Vaccination and trust. Retrieved from https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0004/329647/Vaccines-and-trust.PDF