คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

พวงเพชร สุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จ.ปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จ.ปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ รายได้ สถานภาพการสมรส เชื้อชาติ และปีที่ทำงาน กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 405 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามกับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในตลาดไท สถิติที่ใช้


วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
(T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ด้วยสถิติ F-test
ผลการศึกษาพบว่า แรงงานต่างด้าว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 25 – 35 ปี สถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือน 9,000 – 11,000 บาท เชื้อชาติพม่า ระยะเวลาการทำงาน 2 ปี


สำหรับผลการสำรวจคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?x\bar{} = 3.82) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ประชาธิปไตยในองค์กร การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
การพัฒนาความสามารถของบุคคล ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และด้านการให้สิ่ง
ตอบแทนที่ยุติธรรมตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จ.ปทุมธานี พบว่าแรงงานต่างด้าวที่มีอายุ รายได้ เชื้อชาติ และจำนวนปีที่ทำงานที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ
และสถานภาพสมรสมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สุขประเสริฐ พ. (2022). คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จังหวัดปทุมธานี. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(2), 51–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/262449
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ จิตรโรจนรักษ์ และมณฑล สรไกรกิติกูล. (2558). คุณภาพชีวิตในการทํางาน:แรงงานต่างด้าวที่ทํางานรับใช้ในบ้าน. วารสารวิจัยสังคม. 39(2), 139-176.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). คู่มือปฏิบัติงานด้านคุ้มครองแรงงาน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2561 สำหรับเจ้าหน้าที่. สืบค้นจาก https://protection.labour.go.th/images/Manual/342696.pdf.

กฤษฎา พรหมเรศ. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในตลาดโรงเกลือ.การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นจาก

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171207-MinistryofIndustry.pdf.

กัญญารัตน์ ทุสาวุธ. (2562). คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา แรงงานสัญชาติพม่าเขตตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กัลยา นามสงวน และประวิตร โหรา. (2561). คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ชญาณิศา วงษ์พันธุ์, ณัฐกฟตา นันทะสิน และศิริพา นันทกิจังหวัด (2564). แรงจูงใจปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการเลือกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเรือสำราญ. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2(3). 12-19.

ชาตรี มูลสถาน. (2563). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวลาวในประเทศไทยใน พ.ศ. 2563. นครปฐม: วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เดโช แขน้ำแก้ว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของแรงงานพม่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ กรณีศึกษา จังหวัดหนึ่งในภาคใต้. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 1(1). 1-9.

ธารารัตน์ ตะเคียนศก. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตพื้นที่ชุมชนตลาดศรีเขมา เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 3(2), 85-99.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และคณะ. (2019). แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในภาคตะวันออกของประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao. 7(2), 190-229.

พันธ์รบ ราชพงศา. (2557). แรงงานไร้ฝีมือ คือ ผู้สร้างชาติ สร้างอาเซียน. สืบค้นจาก https:// www.itd.or.th/wp-content/uploads/2015/05/20141113-ar_unskilled-labor-asean.pdf.

ลงทุนแมน. (2019). ข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่เรายังไม่รู้. สืบค้นจาก https://www.longtunman.com/14078.

วีระ เภียบ และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). สถานการณ์และความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ในเขตจังหวัดสระแก้ว.

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 1-16.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2561). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอมอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สงขลา: วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต.

อภิรักษ์ แก้วสวย. (2559). วิถีชีวิตต่างด้าวในแดนไทย : แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว จากสาธารรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย. มหาสารคาม: วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

อาจินต์ สงทับ, วุฒิชัย ทองสามสี. (2560). การพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(2). 191-206.

Walton, Richard E. (1974). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review, 15(5), 12-16.