ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล
ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัยของผู้บริโภค 2. เพื่อศึกษาถึงเจตคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัยของผู้บริโภค 3. เพื่อศึกษาถึงการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัยของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัยผ่านทางหน้าร้านและช่องทางออนไลน์จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เพื่ออธิบายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัย และสถิติเชิงอนุมาน คือการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นเชิงเดี่ยวเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านเจตคติพบว่าส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัย และตัวแปรด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงพบว่าส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มรังนกธารฤทัย ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ตัวแปรเจตคติในส่วนความเชื่อของการบริโภคเครื่องดื่มรังนกธารฤทัยช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าได้รับสารอาหารครบถ้วนซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการจัดทำกลยุทธ์การส่งเสริมการขายให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กรวร สินธนานุกูล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อแผ่นฟิล์มถนอมอาหาร B ของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า เขตสายไหม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชญรรค์กร ทิพย์มณี. (2559). การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐภัทร วัฒนถาวร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู๊ดของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐวุฒิ เลิศวัฒนเกษม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุษกร มโนตรัยรัตน์. (2559) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ Personalized gift ประเภท ของใช้ผ่านทางออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิรญาณ์ ใจชื้น. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลัดดาวัลย์ โชคถาวร และขวัญกมล ดอนขวา. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดและปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 5(1), 79-91.
วรวลัญช์ วิวรรธน์นิธิ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(1), 11-25.
อรทัย นุ่นสังข์. ผู้ประกอบการ. (13 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์.
เอกชัย อภิศักดิ์กุล. (2558). ค่านิยมร่วมของครอบครัว. สืบค้นจาก https://vrfb.blogspot.com
/2015/10/blogpost_21.html?fbclid=IwAR3rvV6hgnXBYX1rJm_X9AYymQFyGAwy5QUch_Vzz4Y8LpVoq88dI9JKT30.