แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมบริการ: กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร 3 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 3) ด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยศึกษาและวิเคราะห์ความสามารถเฉพาะด้านของบุคลากรในแผนก 1) แผนกต้อนรับส่วนหน้า 2) แผนกอาหารและเครื่องดื่ม และ 3) แผนกแม่บ้านและบริการส่วนห้องพักที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31-40 ปี มีสถานภาพโสด และมีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า พนักงานส่วนใหญ่ทำงานใน แผนกอาหารและเครื่องดื่ม แผนกบริการส่วนหน้า และแผนกปฏิบัติงานแม่บ้านและบริการส่วนห้องพัก ตามลำดับ ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานโรงแรมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 3) ด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงาน พบว่าพนักงานส่วนใหญ่ ควรได้รับการพัฒนา 1) มาตรฐานด้านบุคลิกภาพควรพัฒนา ในเรื่องการพูดจาสุภาพ ถูกต้อง ชัดเจน 2) มาตรฐานด้านมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมควรพัฒนาในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงานควรพัฒนา ในเรื่องมีความสามารถในการติดต่อประสานงาน และสำหรับทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานโรงแรมในด้านความรู้และทักษะเฉพาะตำแหน่งงานโดยแยกตามแผนกดังนี้ 1) แผนกต้อนรับส่วนหน้าด้านความรู้ พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ด้านทักษะ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม 2) แผนกอาหารและเครื่องดื่ม ด้านความรู้ จิตวิทยาการบริการ ด้านทักษะ การใช้ภาษาไทยถูกต้องเหมาะสม และ 3) แผนกแม่บ้านด้านความรู้ ความรู้ด้านการรักษาความสะอาดและจัดเตรียมห้องพัก ด้านทักษะ ความซื่อสัตย์ ความอดทน ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2551). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในงานโรงแรมระดับ 3 ดาวใน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มุกตา นัยวัฒน์ พรรณิภา ซาวคำ และบวรพจน์ หิรัณยรัศมีกุล (2558). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรม ระดับ 3 ดาว ในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย. วารสารการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, ปีที่2 ฉบับที่2 (กรกฎาคม–ธันวาคม) 2558
กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2559. สถิตินักท่องเที่ยว สืบค้นจาก http://www.mots.go.th/more_news. php?cid=438&filename=index
(สืบค้นวันที่ 9 สิงหาคม 2560)
MGR Online. (Online). Available: https://mgronline.com/stockmarket/detail. เผยแพร่: 28 ต.ค. 2556
Adam, Stacy J. (1965). Inequality in Social Exchange. In L. Berkowitz ed. Advances in Experimental Psychology. 2 (1965), 267 – 299
Goldstein, I. L., & Ford, J.K. (2002). Training in Organization (4th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.