พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว: กรณีนักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรม XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

Main Article Content

จิระพงค์ เรืองกุน
พิชาพัทธ์ งามสิน
ปกรณ์ โอภาสวิทยารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกเข้าพักแรมของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรม XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรม XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ตามแนวคิดส่วนประสมการตลาดบริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เข้าพักที่ XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 336 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวเลือกเข้าพักห้องพักที่เป็นพัดลม ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการท่องเที่ยวไม่เกิน 2,000 บาท มีการจองที่พักผ่านเฟสบุ๊ก XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี และเดินทางมากันเป็นกลุ่มเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ 2) นักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรม XYZ รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ และด้านราคา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ขณะที่ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาธุรกิจที่พักแรมให้สอดรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยว รวมทั้งแนวทางสร้างความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีราภรณ์ เพ็งโตวงษ์. (2559). ปัจจัยทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกที่พักของ

นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย

ราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 39-50.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2564). ความตั้งใจใช้บริการที่พักแรมภายใต้สถานการณ์ปกติใหม่ของนักท่องเที่ยว

ชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 21-41.

ฤทัยรัตน์ ไชยทองสี, พุฒธิเมธ ทองนอก, นาตยา พุฒติ, จิระพงค์ เรืองกุน และวิทยา นามเสาร์.

(2564). ความพึงพอใจของพนักงานในการใช้บริการห้องรับประทานอาหารศูนย์ไปรษณีย์

หลักสี่: ศึกษาในช่วงการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา.

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(4), 27-42. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11).

กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อรไท ครุฑเวโช, โยษิตา แย้มมา, ปภาวรินทร์ สีนะ, พิชญดา จูละพันธ์, ธีรนาถ วจนะคัมภีร์ และ

วรพจน์ ตรีสุข. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาด

บริการในมุมมองของนักท่องเที่ยวเจนวายที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในสภาวะ

วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 242-258.

Prin, M., & Bartels, K. (2020). Social distancing: Implications for the operating room in

the face of COVID-19. Canadian Journal of Anesthesia. 7(2020), 789-797.

Shin, H. & Kang, J. (2020). Reducing perceived health risk to attract hotel customers in

the COVID-19 pandemic era: Focused on technology innovation for social

distancing and cleanliness. International Journal of Hospitality Management,

, doi: 10.1016/j.ijhm.2020.102664.