การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในตลาดกลางสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยห่วงโซ่คุณค่า

Main Article Content

จันจิรา พุ่มจันทร์
ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะในตลาดกลางสินค้าเกษตร โดยใช้หลักการของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ 2) เพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มในการคัดแยกขยะและลดปริมาณค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ 3) วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะแบบยั่งยืน โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก
จะดําเนินการสัมภาษณ์จากตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและ การวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าจากการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) การจัดการขยะในตลาดโดยใช้หลักการของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ พนักงานในตลาดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 13 คน วิเคราะห์แนวคิดกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เกิดจากกระบวนการผลิตทั้งหมด 5 ส่วน ซึ่งเชื่อมโยงกัน
นับจากการมองขยะเป็นวัตถุดิบจนวัตถุดิบผ่านการแปรรูป โดยการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมมีปริมาณ 14,000 กิโลกรัมต่อวัน  ค่าใช้จ่ายในการฝังกลบขยะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟม 1 ตัน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 410 บาทต่อตัน โดยค่าใช้จ่ายฝังกลบโฟมจะอยู่ที่ 57,400 บาทต่อเดือน เมื่อเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปขยะรายได้จากการขายโฟมก้อน 182,000 บาทต่อเดือน ลบต้นทุนการผลิต 19,657 บาท จะได้กำไร 162,344 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายฝังกลบลดลงที่ 2.29 ล้านบาทต่อเดือน
และวิเคราะห์หาอัตราผลตอบแทน อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 60.88 อัตรากำไรสุทธิ
ต่อยอดขายร้อยละ 4.47 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ROA ร้อยละ 4.43 อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน ROI ร้อยละ 11.46 ระยะเวลาคืนทุน 1 เดือน ซึ่งทำให้ธุรกิจรับซื้อขยะเพื่อรีไซเคิลเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุนในปัจจุบัน


 

Article Details

How to Cite
พุ่มจันทร์ จ., & ทิวาราตรีวิทย์ ถ. (2021). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะในตลาดกลางสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยห่วงโซ่คุณค่า. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(3), 1–11. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/253735
บท
บทความวิจัย

References

กนกลักษณ์ จีรวงศ์สุนทร. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนและความสามารถการทำกำไรของธุรกิจรับซื้อเพื่อรีไซเคิล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://madlab.cpe.ku.ac.th/TR2/?nameID=834005 (วันที่สืบค้น 2 มกราคม 2564)

ขวัญฤทัย เทพพิทักษ์. 2561. การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจส่งออกผลไม้แปรรปูของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2486 (วันที่สืบค้น 2 มกราคม 2564)

ตรียากานต์ พรมคำ. 2563. การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/243936 (วันที่สืบค้น 2 มกราคม 2564)

เปรมจิต สัตนันท์. 2560. การวิเคราะห์โซ่คุณค่าของปาล์มน้ำมัน จังหวัดชลบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56910515.pdf (วันที่สืบค้น 2 มกราคม 2564)

พลอยไพลิน บุญฤทธิ์ตมนต์. 2563. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์หวด: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานบ้านหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ms.udru.ac.th/ACresearch/assets/pdf/20200425102814.pdf (วันที่สืบค้น 3 มกราคม 2564)

เริงชัย ตันสุชาติ. 2563. ห่วงโซ่คุณค่าของปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/8161 (วันที่สืบค้น 3 มกราคม 2564)

วิมลมาศ บุญยั่งยืน. 2563.ศึกษาการจัดการของเสียในสถานที่ก่อสร้างอย่างยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/629 (วันที่สืบค้น 4 มกราคม 2564)