ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วรวลัญช์ วิวรรธน์นิธิ
ชิตพงษ์ อัยสานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ (2) ศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ (3) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล(4) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ จำแนกตามพฤติกรรมผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในเขตจังหวัดนครปฐม 385 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และ One - Way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้บริโภคส่วนมากใช้ระยะเวลาในการซื้อผลิตภัณฑ์น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ที่ซื้อ คือ เสื้อผ้า เหตุผลมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายมากที่สุด และมีงบประมาณในการซื้อแต่ละครั้ง 300 - 500 บาท (2) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ทุกด้านอยู่ในระดับมาก (3) ผู้บริโภคที่มีอายุ รายได้ และ การศึกษาที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต แตกต่างกัน (4) ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมด้านความถี่ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการให้บริการแบบเจาะจง และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว แตกต่างกัน และผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมด้านงบประมาณในการการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ด้านการจัดจำหน่าย แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชงโค ดรลาดพันธุ์ และวิษณุ สุมิตสวรรค์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคผ่านสื่อเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาล นครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2563), 118-131.

ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น.

ธารารัตน์ พวงสุวรรณ. (2558). Electronic Commerce การตลาดออนไลน์. มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี.

ยุทธนาท บุณยะชัย. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภค ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์. ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2564, 287- 305.

โยษิตา นันทิภาคย์ และคม คัมภิรานนท์ (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Instagram ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารรัชต์ภาคย์.ปีที่ 14 ฉบับที่ 36 กันยายน – ตุลาคม 2563, 130 – 146.

วัชราภรณ์ เจียงของ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์โดยมุ่งเน้นปัจจัยด้านช่องทางการรับสินค้า. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ปรับธุรกิจให้ทันรับกระแส E-Commerce โต. ข้อมูลวิจัย มิถุนายน 2560.

ศิรินทิพย์ เหลืองสุดใจชื้น. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2562. กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. สนับสนุนทุนวิจัยโดย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques.

NewYork: John Wiley & Sons. Inc.

Kuester, Sabine. (2012). MKT 301: Strategic Marketing & Marketing in Specific Industry Contexts. University of Mannheim.