การมีส่วนร่วมทางการเมือง ของนิสิตปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

พีรณัฐ สุรประเสริฐ
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์
สมเกียรติ วันทะนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง
การกล่อมเกลาทางการเมือง ความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง
2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ
การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง ความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมืองต่อ
การมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่
ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าการถดถอยพหุคูณ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง การกล่อมเกลาทางการเมือง และความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมืองอยู่ในระดับมาก 
จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า พบว่า นิสิตที่มีอายุ ภาควิชา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วม
ทางการเมืองแตกต่างกัน  ในการวิเคราะห์หาอิทธิพลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง
พบว่า ปัจจัยการรับรู้ข่าวสารการเมืองแบบดั้งเดิม การกล่อมเกลาทางการเมือง ด้านสถาบันครอบครัว
การกล่อมเกลาทางการเมือง ด้านกลุ่มเพื่อน  และความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง มีอิทธิพลต่อ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

How to Cite
สุรประเสริฐ พ., รัฐฉัตรานนท์ ว., & วันทะนะ ส. (2021). การมีส่วนร่วมทางการเมือง ของนิสิตปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/250991
บท
บทความวิจัย

References

จรูญ สุภาพ. (2543). หลักรัฐศาสตร์ ฉบับแก้ไข. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

จันทนา สุทธิจารี. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมือง การปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ

ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง.

จุมพล หนิมพานิช. (2531). กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองกับทัศนคติทางการเมืองของคนไทย.

เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของเมืองไทย หน่วยที่ 5.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มยุรี ถนอมสุข. (2554). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต

ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มานะ อ่อมท้วม. (2542). การรับรู้บทบาทสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะ

กรณีสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). หลักรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :

บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิริขวัญ อุทา. (2546). กระบวนการจัดทําแผนชุมชนแบบมีสวนรวมในจังหวัดลําพูน.

วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหบัณฑิต (เกษตรศาสตร). เชียงใหม : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สาโรช บัวศรี. (2521). พื้นฐานการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศ

กรมการฝึกหัดครู

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบ

ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Campbell, A. (1954). The Voter Decides. Evanston: Row and Peterson.

Chaples, E.A. (1976). Political Efficacy and Political Trust. Politics. 7 : 77.

Easton, D and J. Dennis. (1967). The Child’s Acquistion of Regime Norm : Political

Efficacy. American Political Science Review.

Mibrath, and M.L. Goel. (1977). Political Participation : How and Why people Get

Involve in Politicals. Chicago : Rama McNally and Co.

Prewitt, K. (1968). Political Efficacy. International Encyclopedia of The Science.

New York: Macmillan.