- การดำเนินงานตลาดการเงินชุมชนสงขลาเพื่อการพัฒนาชุมชน บนฐานทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน การดำเนินงานตลาดการเงินชุมชนสงขลาเพื่อการพัฒนาชุมชนบนฐานทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานตลาดการเงินชุมชนสงขลา และสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative approach) โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบกรณีศึกษา (case study approach) เป็นการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง (key informants) จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (observation participation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผลการศึกษาพบว่า ตลาดการเงินชุมชนสงขลามีการดำเนินงานของกลุ่มองค์กรหลัก 6 ด้าน ได้แก่ 1) การดำเนินงานด้านบุคลากร 2) การดำเนินงานด้านกฎระเบียบ กติกา 3) การดำเนินงานด้านการจัดการสื่อสาร 4) การดำเนินงานด้านการตลาด 5) การดำเนินงานด้านงบประมาณ และ 6) การดำเนินงานด้านการกำกับติดตาม ทั้งนี้จากการสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของตลาดการเงินชุมชนสงขลา จะพบว่าผู้นำเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดสงขลาใช้ตลาดการเงินชุมชนสงขลาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ด้วยการจัดการทุนทางสังคมมาใช้ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพชุมชนของสมาชิกเครือข่าย โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์เพื่อให้ทุนมนุษย์ในชุมชนสร้างเครือข่ายการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนสืบต่อไป
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
เกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการป้องกันยา
เสพติด. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการ
จัดการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.
นันทิยา หุตานุวัตร ณรงค์ หุตานุวัตร. (2549). การพัฒนาองค์กรชุมชน. เอ็กซเปอร์เน็ท. :
กรุงเทพฯ.
นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, รังสรรค์ สิงหเลิศ, และสมสงวน ปัสสาโก. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4 (2). 103-111.
ประเวศ วะสี. (2542). ชุมชนเข้มแข็ง: ทุนทางสังคมของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม
ธนาคารออมสิน.
พระธรรมปิฎก. (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พิทยา บุษรารัตน์. (2540). ชบ ยอดแก้ว : คนดีศรีสังคม-สายธารกลุ่มออมทรัพย์แบบพัฒนาครบ-
วงจรชีวิต.วารสารทักษิณคดี. 4. (3). 103-109.
สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์ และคณะ. (2557). ดร.ครูชบ ยอดแก้ว นักคิด นักจัดการ นักบริหารกองทุน
สวัสดิการชุมชนและกลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบครบวงจรชีวิต. สงขลา. : โรงพิมพ์นำผล.
เสรี พงษ์พิศ. (2548). เครือข่าย ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ. : เจริญวิทย์-
การพิมพ์.
สุพิชชา โชติกําจร และนิพนธ์ เพชระบูรณ์. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่ม
ออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตจังหวัดเพชรบูรณเพื่อการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจ
พอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 14. (2). 39-57.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2541). การระดมทุนเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.Creswell; John W. (2003). Research desaign: Qualitaive,quantitative, and Mixcd
Methods approach. (2nd. ed.). Thousand Oaks: Sage.
Dessler, Gary. (2004). Management : Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders.
Edition 3. Florida : UG/GGS Information Services.
Jones, G. R., George, J. M., and Hill, C. W. L. (2003). Contemporary Management.
(2nd ed.). Boston: McGraw-Hill.
Tashakkori; Abbas and Teddlie; Charles. (1998). Mixed Methology.
Combiningqualitaire and quantitative approaches. Thousand Oak, London:
Sage.