ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการของโรงแรมในอำเภอหัวหิน
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlscc.v9i2.263293คำสำคัญ:
ปัจจัยของกิจการ, คุณภาพบริการของโรงแรม, โรงแรมในอำเภอหัวหินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลที่ปัจจัยของกิจการมีต่อคุณภาพบริการของโรงแรมในอำเภอหัวหิน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการของโรงแรมในอำเภอ
หัวหิน ด้วยรูปแบบวิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้เข้ารับบริการในโรงแรมในอำเภอหัวหิน จำนวน 25 แห่ง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยจับฉลากได้ จำนวน 8 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวนลูกค้า
ที่ใช้บริการเฉลี่ยต่อวันทั้ง 8 แห่ง คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 345 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ (Analysis of variance ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลปัจจัยของกิจการ อายุของโรงแรมส่วนใหญ่น้อยกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.00 และลักษณะการบริหารจัดการ เจ้าของกิจการบริหารเอง คิดเป็นร้อยละ 57.68 2) ข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้า กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลในการเลือกใช้บริการกับทางโรงแรมเดินทาง
มาท่องเที่ยวหัวหินเพื่อเดินทางมาท่องเที่ยวหรือเยี่ยมญาติในหัวหินมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.47 ใช้เวลาเข้าพัก เพียง 1 คืน คิดเป็นร้อยละ 55.6 และมาพักมากกว่า 2 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ในส่วนที่ผู้ที่เคยมาใช้บริการแล้วส่วนใหญ่จะมาพักมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน/ครั้ง เหตุผลประการแรกเคยมาพักแล้วชอบ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35.6 ประการที่สอง คือ ตอบสนองความต้องการเฉพาะตนได้ ร้อยละ 27.0 และประการสุดท้าย คือคำแนะนำจากเพื่อน/คนรู้จัก ร้อยละ 22.9 กลุ่มตัวอย่างมีทั้งเคยและไม่เคยเข้าพักโรงแรมแห่งนั้นผู้เคยพักโรงแรมนี้มาก่อนมีจำนวนมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 55.39 3) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยของกิจการและพฤติกรรมการใช้บริการต่อคุณภาพการบริการของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้ง 4 ปัจจัย อายุของโรงแรม ลักษณะ
การบริหารจัดการ เหตุผลในการเลือกใช้บริการกับทางโรงแรม ส่งผลต่อความเห็นในคุณภาพบริการของลูกค้าแตกต่างกันไปด้วยอย่างนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยการเคยใช้บริการนั้น ไม่ได้มีผลต่อความต่อความแตกต่างในการประเมินคุณภาพบริการทั้ง 5 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเห็นของลูกค้าในเรื่องคุณภาพการบริการ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเคยมาพัก ข้อเสนอแนะ ควรใส่ใจต่อรายละเอียดคุณภาพบริการในการตอบสนองต่อความต้องการแก่ ผู้เข้าพัก การอบรมดูแลพนักงานและการ เอาใจใส่ดูแลรักษาสถานที่โดยรอบให้ดูใหม่และทันสมัยสามารถอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
References
ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2563). คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(2), 1-2.
ชูชัย สมิทธิ์ไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล ชูเศษ, วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง, กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง และปัญจา ชูช่วย. (2561). องค์ประกอบคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว. รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9, วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา.
ปรวีร์ คีรี. (2562). การรับรู้และความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พชร เกษโกศล และจิตต์โสภิณ มีระเกตุ. (2561). อิทธิพลของคุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการโรงแรม และรีสอร์ทในเขตพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 1-2.
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวโลกและสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทย. รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยกรุงศรี, 1(4), 6-23.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา ภาคตะวันตก. (2564). อนาคตของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ตอนที่ 1). วารสาร TAT Review Magazine 2564(4), 40.
อนิรุทธิ์ ผ่องแผ้ว. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการโรงแรมห้าดาวในกรุงเทพมหานคร.วารสารรัชต์ภาคย์, 2563(14), 36.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Herington, C. & Weaven, S. (2009). E-retailing by banks: e-service quality and its importance to customer satisfaction. European Journal of Marketing, 43(9/10).
Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing management (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L.L. (1994). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 7(3), 213-233.
Yamane, T. (1973). Elementary sampling theory.Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
