ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
development, Competitiveness, Traditional tradeบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและอิทธิพลส่วนประสมการตลาด 7Ps ความพึงพอใจของผู้บริโภค และคุณภาพการบริการ ที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรการวิจัย คือ กลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต รวม 5,588,222 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ 450 คน กำหนดขนาดตัวอย่างเป็น 20 เท่าของพารามิเตอร์ตัวแปรการวิจัย เลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างโควตาและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และการวิจัยเชิงคุณภาพกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกโดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ, และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา,วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร, วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กับ ศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ขณะที่ คุณภาพการบริการ, และส่วนประสมการตลาด 7Ps เป็นคู่ความสัมพันธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่า ส่วนประสมการตลาด 7Ps ความพึงพอใจผู้บริโภค คุณภาพการบริการ มีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม DE = .291, DE = .276, DE = .308 ตามลำดับ และ 2) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ ต้องสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค โดยควรออกแบบร้านค้า จัดเรียงสินค้าอย่างเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สะดวกต่อการเลือกซื้อ มีป้ายแสดงราคาสินค้าบอกชัดเจนให้ลูกค้าเลือกและตัดสินใจซื้อได้ทันที มีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และควรทำการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส ในการปรับตัวของร้านเพื่อความอยู่รอดด้วย
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจค้าปลีกและบริการ. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จาก: https://www.dbd.go.th.
กรุงเทพมหานคร กองยุทธศาสตร์บริหาร. (2563). สถิติกรุงเทพมหานคร 2563 หมวดจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563.
กิตติธัช เพียรสุภาพ, ภาศิริ เขตปิยรัตน์ และศิริกานดา แหยมคง. (2562). การรับรู้คุณภาพบริการและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อวัสดุก่อสร้างในร้านค้าปลีกสมัยใหม่กับร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานการประชุมวิชาการประดับชาติ ด้านบริหารธุรกิจครั้งที่ 6, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 322 – 336.
กรณิกา สุริยะกมล และฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2562). ร้านค้าโชห่วยกับการอยู่รอดในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล. รายงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 14, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 1 – 11.
กฤษณ์ ทัพจุฬา. (2558). ความสำเร็จของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
จิรารัตน์ จันทวัชรากร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็กกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค การศึกษาเปรียบเทียบ ร้านค้าปลีกดั้งเดิมกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิตรา กาสาเอก, สุณีย์ ล่องประเสริฐ และนิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการบริษัท ลิสซิ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(2), 143 – 166.
ฉัตรชัย ตั้งทรัพย และสืบชาติ อันทะไชย. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย. RMUTT Global Business and Economics Review, 15(2), 19-32.
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564 – 2566 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564, จาก: https://www.krungsri.com/getmedia/3e2799cd-a1ce-4151-93f8-
bfe630ac31f0/IO_Modern_Trade_210128_TH_EX.pdf.aspx.
บุญฑวรรณ วิงวอน, อัจฉรา เมฆสุวรรณ และบุญชนิต วิงวอน. (2559). อิทธิพลของภาพลักษณ์ร้านค้า คุณค่าความสัมพันธ์ พฤติกรรมการบริการและการซื้อซ้ำที่มีต่อความภักดีของลูกค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 69 – 83.
ปราณี สกุลลิขเรศสีมา, สุกานดา กลิ่นขจร และอัจฉราวรรณ ท้าวด่อน. (2562). ศึกษาคุณลักษณะของพนักงานบริการและคุณภาพการบริการตามการรับรู้ของพนักงานและลูกค้าธุรกิจโรงแรมในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(16), 71 – 85.
พนิดา วรัตม์ธนภัทร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีในการใช้บริการร้านค้าปลีกเพื่อสุขภาพและความงามรูปแบบเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญลักษณ์ ทองศรี และณัฐนรี สมิตร. (2563). แนวทางการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 447 – 460.
วรินรำไพ รุ่งเรืองจิตต์. (2562). บทบาทอิทธิพลกำกับของประสบการณ์ซื้อสินค้าแบบไร้รอยต่อและการรับรู้ความสอดคล้องที่มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อสินค้า บริบทธุรกิจค้าปลีกฟาสต์แฟชั่น. วารสารสหวิทยาการ วิจัย ฉบับบัณฑิต ศึกษา, 8(1), 234-248.
วิทยา จารุพงศ์โสภณ, สุชาติ ไตรภพสกุล และวิเลิศ ภูริวัชร. (2560). อิทธิพลของคุณภาพการบริการร้านค้าปลีกต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(150), 126 – 148.
วรรธนะ เสถียร. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพนัสนิคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวรรณา พะลีราช. (2562). คุณภาพการบริการและการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลดีบุก. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(2), 96 – 110.
สุพัตรา กาญจโนภาส, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ และบัณฑิต ผังนิรันดร์. (2562). อิทธิพลของนวัตกรรมการจัดการ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจ และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยวแบบออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 58 – 71.
สุชาดา สุขพงษ์ไทย. (2559). แนวทางการบริหารร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในอําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวรรณี ศรีบุญ, อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์, สมโภชน์ วัลยะเสวี และนพดล มั่งมี. (2563). ความพึงพอใจของผู้บริโภคร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม กรณีศึกษาผู้บริโภคในเขตอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(3), 140 – 146.
หัสยา อินทคง. (2560). คุณภาพบริการ คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ราคาและคุณลักษณะของร้านค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีต่อร้านค้าปลีกสินค้าออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อรอิทธิ์ ชญาภรภัทร์. (2562). ลักษณะร้านค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านค้าปลีกอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคชาวไทยและเกาหลีใต้. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
อารีย์ลักษณ์ ตระกูลมุกทอง. (2559). กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพบริการและความภักดีของนักท่องเที่ยวต่างชาติในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 11(2), 115-128.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice.
Hosseini, Z., Jayashree, S., & Malarvizhi, C. (2014). Store image and its effect on customer perception of retail stores. Asian Social Science, 10(21), 223 - 235.
Israel, M. (2005). Services as experience goods: An empirical examination of consumer learning in automobil insurance. American Economic Review, 1444-1463.
Stevie Langford. (2019). The 7Ps of The Marketing Mix: The Acronym Sent to Streamline your Strategy. Retrieved 8 October 2021, From: https://blog.hurree.co/blog/marketing-mix-7ps.
