การเปรียบเทียบเส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนน: กรณีศึกษาขนส่งผลไม้แช่แข็งจากกรุงเทพมหานครไปยังด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การขนส่งสินค้าทางถนน, การส่งออกสินค้า, การขนส่งผลไม้แช่แข็ง, การเปรียบเทียบเส้นทางบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเส้นทางขนส่งสินค้าทางถนน จากกรุงเทพมหานคร ไปยังด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในการส่งออกผลไม้แช่แข็งไปสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มจากศึกษาเส้นทางที่เป็นไปได้ทั้งหมด จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ ที่ให้บริการขนส่งผลไม้แช่แข็งไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน 5 ราย จากนั้นศึกษาเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการเปรียบเทียบเส้นทาง แล้วจึงศึกษารายละเอียดของแต่ละเส้นทางด้วยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสำรวจเส้นทาง ทั้งนี้เกณฑ์ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ต้นทุน เวลา ความเสี่ยงด้านตัวสินค้า ความเสี่ยงของโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์อํานวยความสะดวกในเส้นทาง ความเสี่ยงด้านอื่นๆ และลักษณะทางด้านกายภาพ ซึ่งในการประเมินความเสี่ยงทั้ง 3 กลุ่มนั้น มาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3 มุมมอง ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ และตัวแทนจากภาครัฐที่เชี่ยวชาญทางด้านโลจิสติกส์ แล้วนำเข้าสู่สมการทางคณิตศาสตร์ สุดท้ายเมื่อนำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาเปรียบเทียบ แล้วนำเสนอข้อมูลเส้นทางแก่ผู้ประกอบการ พบว่า เส้นทางที่ 3 ซึ่งใช้เส้นทางกรุงเทพมหานคร - นนทบุรี - ปทุมธานี - อยุธยา - อ่างทอง - สิงห์บุรี - ชัยนาท - นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - ลำปาง - พะเยา - เชียงราย มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในขณะนี้ที่สุด เนื่องจากเมื่อพิจารณาในส่วนของเกณฑ์ต้นทุน เวลา รวมถึงความเสี่ยงด้านอื่นๆ แทบจะไม่มีผลต่อการเลือกเส้นทางในครั้งนี้ เพราะเกณฑ์ทั้งสองมีปริมาณใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงเกณฑ์ความเสี่ยงด้านตัวสินค้าและลักษณะทางกายภาพของเส้นทางแล้ว ผู้ประกอบการค่อนข้างให้ความสำคัญ เนื่องจากผลไม้แช่แข็งเสียหายได้ง่ายอันเนื่องจากการขนส่ง ตลอดจนให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์อํานวยความสะดวกในเส้นทางรองลงมา ด้วยเหตุผลที่ว่าในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ส่งผลให้เวลาการขนส่งล่าช้าลง
References
กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2564). รายงานสถิติการค้า. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก: https://www.ditp.go.th.
กรมทางหลวง. (2560). โครงการทางหลวงอาเซียน. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564, จาก: http://www.doh.go.th/content/page/page/8103.
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2562. ค้นเมื่อ 27 กรกฏาคม 2564, จาก: https://www.nesdc.go.th/more_news.php?cid=717&filename=.
ฉวีวรรณ ศรีวงศ์จรรยา และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2563). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจขนส่งภายในประเทศของผู้ประกอบการภาคเอกชน. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 39-56.
นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์. (2560). การเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เหมาะสมโดยตัวแบบโปรแกรมเป้าหมายแบบศูนย์หนึ่ง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 78-91.
ณัฐกร วิทิตานนท์. (2558). มังกรผงาด : ว่าด้วยการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศโดยรถยนต์ในลุ่มนํ้าโขงตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 3(1), 41-65.
วรพจน์ มีถม. (2553). การออกแบบระบบการตัดสินใจเลือกระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างไทยกับเวียดนาม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล. (2557). การศึกษาทศันคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทย ไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน. สยามวิชาการ, 15(1), 72-86.
วรพจน์ มีถม และสหชัย ฉิมมณี. (2557). การตัดสินใจเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 11(2), 21-42.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2560 – 2564. ค้นเมื่อ 27 กรกฏาคม 2564, จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7525.
ศิริธงชัย ชูนาคา. (2558). การศึกษาความปลอดภัยทางถนนในเขตชุมชนเมือง: กรณีศึกษาบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Agnieszka, T. (2018). Risk Assessment in Road Transport – Strategic and Business Approach. Journal of Konbin, 45(1), 305-324.
Council of Supply Chain Management Professional. (2010). CSCMP Supply Chain Management Definitions and Glossary. Retrieved 26 May 2021, From:https://cscmp.org/CSCMP/Academia/SCM_Definitions_and_Glossary_of_Terms/CSCMP/Educate/SCM_Definitions_and_Glossary_of_Terms.aspx?hkey=60879588-f65f-4ab5-8c4b-6878815ef921.
Hallikas, J., Karvonen, I., Pulkkinen, U., & Virolainen, V-M. (2004). Risk Management Processes in Supplier Networks. International Journal of Production Economics, 90, 47-58.
Karndacharuk, A & Hassan, A. (2017). Road Transport Management Framework and Principles. Sydney, Australia: Austroads Ltd.
Kengpol, A., Meethom, W., & Tuominen, M. (2012). The Development of a Decision Support System in Multimodal Transportation Routing within Greater Mekong Sub-Region Countries. International Journal of Production Economics, 140, 691-701.
Stephan, T. (2016). Finding the right way - a new approach for route selection procedures. World Conference on Transport Research - WCTR 2016 Shanghai, 10-15 July 2016, Shanghai, 2,809–2,823.
Charles, K & Robin, C. (2014). Trade and Transport Corridor Management Toolkit. Retrieved 26 May 2021, From: https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/18241/9781464801433.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
The World Bank. (2018). Trade Logistics in the Global Economy. Retrieved 28 May 2020, From: https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/29971/LPI2018.pdf.
