การปรับโครงข่ายการกระจายสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบขายหน้าร้านเพื่อลดต้นทุนการกระจายสินค้า : กรณีศึกษา บริษัทเอบีซี จำกัด
คำสำคัญ:
โครงข่ายการกระจายสินค้า, การจัดเส้นทางเดินรถ, ระบบขายหน้าร้าน , การจำลองสถานการณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการกระจายสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบขายหน้าร้าน เนื่องจากพบว่าในปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษาดำเนินกระจายสินค้าด้วยลักษณะโครงข่ายการกระจายสินค้าแบบผ่านคลังภูมิภาค มีต้นทุนค่ากระจายสินค้าของบริษัทประกอบด้วยต้นทุนสองส่วนที่สำคัญได้แก่ ต้นทุนค่าเช่าคลังภูมิภาค จำนวน 1,660,548 บาท และต้นทุนค่าขนส่งสินค้า จำนวน 2,435,643 บาท แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของค่าเช่าคลังสินค้าที่สูงถึงร้อยละ 41 ของต้นทุนกระจายสินค้าทั้งหมด ผู้วิจัยจึงนำเสนอให้ปรับโครงข่ายการกระจายสินค้าเป็นแบบตรงไม่ผ่านคลังจังหวัด และทดสอบประสิทธิภาพของโครงข่ายการกระจายสินค้าที่นำเสนอผ่านแบบจำลองสถานการณ์ 5 แบบจำลอง ปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาเป็นเงื่อนไขในแบบจำลองได้แก่ ปริมาณการขายสินค้า กระบวนการกระจายสินค้า และต้นทุนการดำเนินงานเพื่อการกระจายสินค้า ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการเก็บข้อมูลของพนักงานขายและพนักงานในแผนกคลังสินค้า จำนวน 123 คน วิธีการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าแบบ Saving Algorithm ถูกนำมาใช้ในการจัดเส้นทางการขนส่งแบบจำลองสถานการณ์ที่ 2-5 สำหรับแบบจำลองที่ 1 และในกรณีที่สินค้าที่ส่งให้แก่พนักงานขายตอนต้นเดือนไม่เพียงพอสำหรับการขายให้มีการจัดส่งสินค้าแบบรายชิ้น ข้อมูลการขายสินค้าเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ของพนักงานขายในเขตกรุงเทพมหานคร ถูกนำมาใช้ในการทดลองแบบจำลองสถานการณ์ทุกแบบ ผลจากการจำลองสถานการณ์ทั้ง 5 พบว่าการปรับปรุงโครงข่ายการกระจายสินค้าส่งสินค้าเป็นแบบตรง โดยไม่ผ่านคลังจังหวัด ก่อให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในทุกแบบจำลองเทียบกับโครงข่ายการกระจายสินค้าแบบเดิม แต่สามารถลดต้นทุนค่าเช่าคลังสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครลงได้ทั้งหมด เท่ากับ 696,000 บาทต่อปี เมื่อพิจารณาต้นทุนกระจายสินค้ารวมทั้งหมดพบว่าทุกแบบจำลองสถานการณ์ก่อให้เกิดต้นทุนรวมในการกระจายสินค้ารวมต่ำกว่ารูปแบบการกระจายสินค้าที่ดำเนินการอยู่ของบริษัทในปัจจุบัน โดยเฉพาะแบบจำลองสถานการณ์ที่ 4 และแบบจำลองสถานการณ์ที่ 5 สามารถลดต้นทุนการกระจายสินค้าได้สูงถึงร้อยละ 87.42 และร้อยละ 82.8 ตามลำดับ
References
กฤษณา ปุณยางกูร, จรรยา ธนาอธิพร, ระวีวรรณ มาลัยวรรณ, ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, จรรยา ฤกษ์ศิริสุข, ธีระ พุ่มเสนาะ, จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา, สิริอร เศรษฐมานิต และนันทิ สุทธิการนฤนัย. (2554) . เศรษฐศาสตร์ การจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ (Economics of Transportation and Logistics Management). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ฉัตริกา สมรูป. (2557) . การศึกษารูปแบบการกระจายสินค้าเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์กรณีบริษัท X.X.X. จำกัด. สาระนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสิตกส์ , มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี นันทิ สุทธิการนฤนัย และ สราวุธ จันทร์ผง. (2563) . เทคนิคการแก้ปัญหาการกระจายสินค้าและการขนส่ง.วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 326–342
พิมพ์ชนก ทำนอง. (2552) . การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าจากจุดส่งเดียว กรณีเปรียบเทียบวิธีการแบบฮิวริสติกส์ และวิธีการเชิงพันธุกรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยนเรศวร .
พิชญ์ พันธุ์พิพัฒน์ และ เปรมพร เขมาวุฆฒ์. (2562) . การจัดเส้นทางการขนส่งของรถบรรทุกขนาดใหญ่สำหรับสินค้าประเภทเทกองและกระสอบ กรณีศึกษาบริษัทผู้ให้บริการขนส่ง. วิศวกรรมสารเกษฒบัณฑิต, 9(1), 1-20 .
ศิวพร สุกสี และ ธาริณี มีเจริญ. (2562) . การลดต้นทุนการขนส่งโดยการประยุกต์ใช้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถ: กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ประดับยนต์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(1), 69-84.
อัครพล ชุณหเกียรติ์สกุล. (2559). การลดต้นทุนการขนส่งของบริษัทขนส่ง กรณีศึกษาศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อสมาพร ประดุจมณีพันธ์ . (2552). การออกแบบและประเมินระบบการขนส่งสินค้าโดยตรงของสินค้าเคมีเหลวจากโรงกลั่นไปยังลูกค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Archetti, C., Bianchessi, N. and Speranza, M.G .(2015).A Branch-price-and-cut Algorithms for theCommodity Constrained Split Delivery Vehicle Routing Problem. Computers and Operations Research. 64,pp. 1-10.
Bolduc, M.C., Laporte, G., Renaud, J. andBoctor, F.F. (2010) .A Tabu Search Heuristic for the Split Delivery Vehicle Routing Problem with Production and Demand Calendars. European Journal of Operational Research, 202, pp. 122-130.
Chopra, S. (2003). Designing the Distribution Network in a Supply Chain. Transportation Research: Part E: Logistics and Transportation Review. Retrieved 25 December 2019 , From : http://dx.doi.org/10.1016/S1366-5545(02)00044-3.
Emmanouil E, Zachariadis, Chris T. Kiranoudis. (2012). An effective local search approach for the Vehicle Routing Problem with Backhauls. Expert Systems with Applications. 39(3) : 3174-3184.
Larry Snyder (online) . VRP solver is for Windows-based systems. Retrieved 20 March 2019, From:https://coral.ise.lehigh.edu/larry/software/vrp-solver/.
Silva, M.M., Subramanian, A. and Ochi, L.S. (2015) .An Iterated Local Search Heuristic for the Split Delivery Vehicle Routing Problem. Computers and Operations Research. 53, pp. 234-249.
Wilck IV, J.H. and Cavalier, T.M. (2012) .A Genetic Algorithm for the Split Delivery Vehicle Routing Problem. American Journal of Operations Research. 2, pp. 207-216.
Prat Boonsam, Nanthi Suthikarnnarunai and Wanchai Rattanawong. (2013) . Efficiency Improvement for Multi Depot Vehicle Routing: A Case Study in Cash Distribution. Applied Mechanics and Materials , 284-287: 3667-367
