การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • สุรพร อ่อนพุทธา สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • โชติมา โชติกเสถียร สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศรากุล สุโคตรพรหมมี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การปรับตัวด้านการบริหารองค์กร การปรับตัวด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การปรับตัวกลยุทธ์ในการบริการและการตลาด นโยบายไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและทดสอบอิทธิพลของการปรับตัวด้านการบริหารองค์กร
การปรับตัวด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการปรับตัวกลยุทธ์ในการบริการและการตลาดที่มีผลต่อ
ประสิทธิภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการโลจิสติกส์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร/ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก/หัวหน้าฝ่าย และพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีประสบการณ์และมีความรู้เกี่ยวกับการดําเนินงานและการปรับตัวขององค์กร โดยทําการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 401 คน ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี และจังหวัด
ปทุมธานี ด้วยการสุ่มแบบเจาะจงและตามความสะดวกของผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจด้านการปรับตัวด้านการบริหารองค์กร การปรับตัวด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การปรับตัวกลยุทธ์ในการบริการและการตลาด และประสิทธิภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการโลจิสติกส์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 อยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจด้านการปรับตัวด้านการบริหารองค้กร การปรับตัวด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การปรับตัวกลยุทธ์ในการบริการและการตลาดมีผลต่อประสิทธิภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการโลจิสติกส์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ด้านความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนขององค์กรอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05

References

กรวิก พรนิมิต. (2560). ความรู้ความเข้าใจนโยบาย Thailand 4.0 ในจังหวัดเชียงใหม่ลำปาง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(4), 871-882.

จิตรลดา ตรีสาครและสุรพร อ่อนพุทธา. (2558). ผลกระทบของแรงจูงใจและความพึงพอในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยและพนักงานราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.งานสัมมนาวิชาการด้านบริหารธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ในเขตชายฝั่งตะวันออก ครั้งที่ 4, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตรลดา ตรีสาคร, สุรพร อ่อนพุทธา. (2561). การศึกษากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ฉบับพิเศษ ตุลาคม, 200-215.

ชนินทร เพ็ญสูตร. (2560). ประเทศไทย 4.0 บริบททางเศรษฐกิจ และการเมือง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 67-99.

ภัทรี ฟรีสตัด. (2560). รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 366-675.

วันวิภา เทียนขาว, ผศ. ดร.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และ ผศ. ดร.สมโภชน์ อเนกสุข. (2555). การปรับตัวของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกสู่คุณภาพการบริหารสถานศึกษา ที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 232-246.

สุชน ทิพย์ทิพากร, จิราวรรณ คงคล้าย และ เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 251-260.

Cochran, W., G. (1977). Sampling Techniques: 3d Ed. New York: Wiley. (1977).

Hajiar, S. T. (2014). A statistical study to develop a reliable scale to evaluate instructors within higher institution. WSEAS Transactions on Mathematics, 13, 885-894

Levinthal, D. A. (1991). Organizational adaptation and environmental selection-interrelated processes of change. Organization science, 2(1), 140-145.

McKee, D. O., Varadarajan, P. R., & Pride, W. M. (1989). Strategic adaptability and firm performance: a market-contingent perspective. Journal of Marketing, 53(3), 21-35.

Menard, S. (1995). Applied Logistic Regression Analysis: Sage University Series. Thousand Oaks.

Mintzberg, H. (1979). The structuring of organizations. Engle-wood Cliffs. J: Prentice-Hall.

Neter, J., Wasserman, W. & Kutner, M. H. (1989). Applied Linear Regression Models. Homewood, IL: Irwin.

Pourhosein, M. R., Kol, A. A. K., Vishkaii, B. M., & Jourshari, F. P. (2017). Investigate the Relationship between Institutional Ownership in Tehran Stock Exchange. International Journal of Economics and Financial Issues, 7(3), 276-285.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18