การจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะกรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณและลักษณะของขยะตามประเภทที่อยู่อาศัยของประชาชนและจัดทำฐานข้อมูลและรายงานผลเกี่ยวกับขยะกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายเก็บขยะ คือ กองสาธารณสุขและฝ่ายที่ดูแลเรื่องค่าธรรมเนียมในการเก็บขยะ คือ ฝ่ายจัดเก็บรายได้ เทศบาลตำบลบ้านดู่ ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูล ระบบสารสนเทศขยะ โดยการดำเนินงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ ตำแหน่งและประเภทที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ร้านค้า บริษัท ฯลฯ และการจัดทำรายงานเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ที่พัฒนาขึ้นโดยไมโครซอฟท์ ในการจัดการด้านเนื้อหา และหน้าเว็บไซต์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ภายในองค์การและใช้เซิฟเวอร์เป็นสื่อกลางในการทำงาน และได้พัฒนาคู่มือการใช้งานระบบเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ฐานข้อมูลเข้าใจและสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ผลของการวิจัยจากวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณและลักษณะของขยะตามประเภทที่อยู่อาศัยของประชาชน พบว่า ปริมาณขยะในการลงพื้นที่เก็บขยะจริงทั้งหมด 19 หมู่บ้าน มีจุดที่ทำการเก็บขยะและปริมาณขยะที่ทำการชั่งน้ำหนักของแต่ละจุด โดยรถเก็บขยะของเทศบาลตำบลบ้านดู่ ทั้งหมด 5 คัน แต่ละคันจะทำการเก็บ 2-3 เที่ยวในแต่ละพื้นที่นั้น มีปริมาณขยะที่มาก โดยเฉพาะรอบที่ 1 คือ วันจันทร์ อังคาร และ พุธ เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บในวันอาทิตย์ จะมีปริมาณขยะประมาณ 100 ตันต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 30 ตัน และผลของการจัดทำฐานข้อมูล พบว่า ระบบสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสองส่วนที่เป็นผู้ใช้ คือ ฝ่ายจัดเก็บรายได้ และกองสาธารณสุข สามารถเห็นข้อมูลการชำระเงินของผู้ขอรับบริการเก็บขยะ ทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูล โดยฝ่ายจัดเก็บรายได้สามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อดูข้อมูลสถานะการชำระเงินของผู้ขอรับบริการเก็บขยะ ดูรายงานในรูปแบบกราฟ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูลได้ และสามารถพิมพ์รายงานสรุปการชำระเงินเป็นรายปีหรือพิมพ์แบบฟอร์มเปล่าเพื่อนำมาใช้งานสำรวจข้อมูล ด้วยมือได้ ส่วนกองสาธารณสุข เทศบาลตำบลบ้านดู่ สามารถล็อกอิน เข้าสู่ระบบเพื่อดูข้อมูลสถานะการชำระเงินของผู้ขอรับบริการเก็บขยะ ทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูลและมอบสติ๊กเกอร์ที่ระบุการชำระเงินรายเดือนหรือรายปีและดูรายงานในรูปแบบกราฟได้ แต่ไม่สามารถลบ แก้ไขข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้
References
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2541). การออกแบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
กิตติพงษ์ จั่นเพชร. (2554). การออกแบบระบบฐานข้อมูลในการลดจำนวนเศษการผลิตของบรรจุภัณฑ์ IC กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เกียรติพงษ์ สันตะบุตร (2551). ซัพพลายเชนสำหรับผู้จัดการ = Supply Chains: A Manager's Guide. เอ็กซเปอร์เน็ท. กรุงเทพ.
คำรณ ศรีน้อย. 2549. การจัดการเทคโนโลยี : กุญแจแห่งการแข่งขันและการสร้างสรรค์ของสังคมโลก. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ.
คำนาย อภิปรัชญากุล. (2553). โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. บริษัท โฟกัส มีเดีย แอสด์ พับลิช ชิ่ง จำกัด. กรุงเทพ.
ดุสิต ขาวเหลือง. “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : ด้านการบริหารงาน”. ศึกษามหาบันฑิต สาขาเทคโนโลยีทางศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.
พลวิทย์ นิธิเนตติยานนท์. (2556). การออกแบบฐานข้อมูลฟาร์มสุกรจรัญฟาร์ม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ภาคภูมิ ปานทรัพย์. (2556) การออกแบบระบบฐานข้อมูลสินค้าของร้านกรุงเทพฮาร์ดแวร์. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นจาก ฐานข้อมูลวิจัย Thailis Digital Collection.
ทัศนีย์วรรณ นวลหนู. (2556). การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปิยชาติ ศิลปสุวรรณ. (2557). ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ.สำนักงานวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 เดือน เมษายน 2557.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.). สาระสำคัญนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540 – 2549. เข้าถึงได้จาก: https://www.onep.go.th/ policy/policy1.asp
สุภกิณห์ สมศรี. (2545). การศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: นครราชสีมา.
Alter S. Information Systems: A Management Perspective. 3rd Edition. (1999) Addison Wesley, USA.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (1992). Information systems success: The quest for the dependent variable. Information Systems Research, 8(3), 240-253.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2002). Information systems success revisited. In Proceedings of the 35th Hawaii international conference on system sciences (HICSS 02), January 7–10.Big Island, Hawaii.
Laudon C. K., & Laudon P. J. Management Information Systems: Managing the Digital Firm. 9th Edition. (2005). Prentice Hall. USA.
Lucas C. H. (1997). Information Technology for Managment. 6th Edition. Mcgraw-Hill. Singapore.
Martin E. W., Brown V. C., DeHayes W. D., Hoffer A. J., & Perkins C. W. (2005). Managing Information Technology. 5th Edition. Pearson Prentice Hall. USA.
Post V. G., & Anderson L. D. (2006). Management Information System.: Solving Business Problem with Information Technology. 4th Edition. Mcgraw-Hill Irwin. USA.
Schulthesis R., & Sumner M. (1998). Managemet Information Systems: The Manager’s View. 4th Edition. Irwin Mcgraw-Hill. USA.
Turban E., McLean E., & Wetherbe J. (2001). Information Technology for Management: Making Connections for Strategic Advantage. 2nd Edition. John Wiley & Sons, Inc. USA.
