ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผูกพันต่อองค์การ และคุณภาพการให้บริการ : กรณีศึกษาที่ปรึกษาการขายรถยนต์บริษัทแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ รอดเริงรื่น สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม อาจารย์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก; ความผูกพันต่อองค์การ; คุณภาพการให้บริการ; ที่ปรึกษาการขาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผูกพันต่อ
องค์การ และคุณภาพการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือที่ปรึกษาการขายรถยนต์บริษัทแห่งหนึ่งในเขต
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 160 คน รวบรวมข้อมูลในโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบ
สอบวัดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก แบบสอบวัดความผูกพันต่อองค์การ และแบบสอบวัดคุณภาพการให้บริการ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายค่าสัมประสิทธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความหวัง
ด้านการมองโลกในแง่ดี ด้านการปรับสภาพทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการให้บริการของที่ปรึกษาการ
ขายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 727, r = 479, r = 676, r = 480, และ r = .574 ตามลำดับ)
ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความหวัง ด้าน
การมองโลกในแง่ดี ด้านการปรับสภาพทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การ ของที่ปรึกษาการ
ขายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .553, r = 407, r = 451, r = 491,และ r = .314 ตามลำดับ)
ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่กับองค์การ ด้านบรรทัดฐานมีความ
สัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการให้บริการอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .524, r = 543, r = 180,
และ r = .507 ตามลำดับ)

References

สิริพร วงษ์โทน. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผูกพันต่อองค์การ และผลการปฏิบัติงาน:
กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะ
ศิลปศาสตร์, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1991). A Three-Component Conceptualization of Organizational Commitment. Human
Resource Management Review, 1(1), 61-89.
Boshoff C., & Mels G. (1995). A causal model to evaluate the relationships among supervision, role stress, organizational
commitment and internal service quality. European Journal of Marketing, 29(2), 23-42.
Luthans, K. W., & Jensen, S. M. (2005). The Linkage Between Psychological Capital and Commitment to Organizational
Mission: A Study of Nurses. Journal of Nursing Administration, 35(6), 304-310.
Luthans, F., Luthans, K. W., & Luthans, B. C. (2004). Positive psychological capital: Beyond human and social capital.
Business Horizons, 47(1), 45-50. doi:10.1016/j.bushor.2003.11.007
vol4no2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-02