การสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิธีการเรียนการสอนแบบตามสถานการณ์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ; การเรียนตามสถานการณ์; การเรียนแบบกระตือรือร้นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิธีการเรียนการสอนและ
ความคิดเห็นของรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์ เพื่อกำหนดการวางแผนการสอน และพัฒนาการ
เรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและเชี่ยวชาญ
มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ มีความเข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาแก้ไขปัญหาด้าน
โลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำรูปแบบการเรียนการสอนตามสถานการณ์ และนำผลการประเมิน
ความพึงพอใจและการสำรวจความคิดเห็นมากำหนดการวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชานี้ให้ดี
ยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัย
โลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิธีการเรียนการสอนแบบตามสถานการณ์
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโลจิสติกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ภาพรวมระดับความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ในเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ
มาก (Mean = 4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษามีระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ สถานการณ์
ทำให้เกิดทักษะในการเรียนรู้เพื่อการตัดสินใจค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.61) รองลงมา
คือ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อความสามารถในการนำทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาใช้ร่วมกับ
การแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.49) และนักศึกษามีความพึงพอใจ
ตํ่าที่สุดคือ การให้ข้อมูลของสถานประกอบการเพื่อการวิเคราะห์มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ
มาก (Mean = 3.70) ตามลำดับ
References
ค้นจาก https://www.thairath.co.th/ content/338986
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 2(1), 12-15.
ทมนี สุขใส. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสอนตามสถานการณ์ เรื่องโลจิสติกส์. วารสารวิชาการครุศาสตร์
อุตสาหกรรม, 9(1), 95-102.
ทมนี สุขใส. (2560). การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกระตือรือร้นสำหรับนักศึกษามหาบัณฑิตในมหาวิทยาลัยเอกชน.
วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 3(1), 16-27.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือประกนคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2550). คู่มือนักวิจัยมือใหม่. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างการพิมพ์. Best, W. J. (1981).
Research in Education (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hell.
