สมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกที่พึงประสงค์ ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
สมรรถนะ; พนักงานขับรถบรรทุก; ความรู้; ทักษะ; คุณลักษณะส่วนบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบ
การขนส่งสินค้าทางถนน จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน ด้านประสบการณ์ใน
การทำงาน และประเภทของรถบรรทุก 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกที่พึงประสงค์ของ
ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาคือ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน หรือ
พนักงานระดับบริหาร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง
เดียว (ANOVA) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรเป็นรายกลุ่ม กรณีพบความแตกต่างเป็นรายกลุ่ม วิเคราะห์
เปรียบเทียบความแตกต่างรายกลุ่มเป็นรายคู่อีกครั้ง โดยใช้ Scheffe Analysis
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5 – 10 ปี ประเภทของรถบรรทุก
ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นประจำคือ รถ 6 ล้อ สำหรับสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการโดย
ภาพรวมอยู่ระดับมาก ( = 3.54) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านทักษะ และด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก
( = 3.60, 3.58 และ 3.45) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกที่พึง
ประสงค์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าสมรรถนะด้าน
ความรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประเภทของรถบรรทุก โดยภาพ
รวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทดสอบความแตกต่างเป็นราย
คู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ พบว่าสมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทาง
ถนนโดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 คู่ ด้านความรู้ มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 คู่ ด้านทักษะ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 คู่ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 คู่
References
investment/about-industrial-estates/industrial-estates-in-thailand
จักราวุศ ดีแสง. (2558). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานระดับอาชีวศึกษา ตามความ
ต้องการของสถาประกอบการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะ
และเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15).นนทบุรี: เอส.อาร์.
พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ยาใจ ธรรมพิทักษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานโรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.
วิทยานิพนธ์ ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี.
ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2560). เอกสารประกอบคำสอนวิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2560 ก.). “ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย.”
ค้นจาก http://www.nesdb.go.th/download/document/Yearend/2017/bookgroup4.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2560 ข.). “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564)”. ค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6923
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2560). “เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่ออนาคตของ ASEAN”.
ค้นจาก http://www.boi.go.th/upload/content/BOI-book%202016-EEC-ENTH-20161129_88126.pdf
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). “ศัพท์บัญญัติวิชาการ”. ค้นจาก http://www.royin.go.th/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). “สถิติการขนส่งและโลจิสติกส์”. ค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/
15.aspx
อัจฉริน จิตต์ปรารพ. (2558). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตตามความต้องการของธุรกิจการบิน. รายงาน
การวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่.
Hoffmann, T. (1999). The meanings of competency. Journal of European Industrial Training,23(6), 275-285.
Liu, X., Ruan, D., & Xu, Y. (2005). A study of enterprise human resource competence appraisement. Journal of
Enterprise Information Management, 18(3), 289-315.
Spencer, L. M. JR. & Spencer, S. M. (1993), Competence at Work: Models for Superior Performance. NY: John Wiley
& Sons.
Zhao, L. (2013). The Research on the Performance Evaluation of Civil Servant Based on Competency Model.
International Conference on Artificial Intelligence and Software Engineering (ICAISE).
